Page 109 - 22825_Fulltext
P. 109

2-69



                  ผลักดันให้การวิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องมือในการเติมเต็มช่องว่างด้านเทคโนโลยีในสาขาที่ยังขาด ประเทศ
                  สวีเดน รัฐบาลให้ความส าคัญอย่างมากกับประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการลงทุนสนับสนุน การ

                  วิจัยกลุ่มของเทคโนโลยีขั้นสูง ด้วยอัตราส่วนของงบประมาณภาครัฐจ านวนมาก ส่งผลให้ประเทศสวีเดน เป็น
                  ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง มียุทโธปกรณ์ที่

                  สามารถส่งออกได้เป็นจ านวนมาก

                         มุมมองต่อความรู้สึกปลอดภัย/ความหวาดกลัว หมายถึง อารมณ์ที่มีความส าคัญต่อมนุษย์เป็นการ
                  ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คิดว่าตนเองจะถูกท าร้าย หรือถูกคุกคามต่อร่างกายหรือจิตใจ ถ้ามนุษย์ไม่มีความกลัว

                  อาจจะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้นาน ความกลัวส่งผลต่อระดับอารมณ์ความรู้สึก เป็นเหตุผลส าคัญที่ท าให้เกิด
                  การตอบสนองอย่างอัตโนมัติในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ บุคคลจะมีการโต้ตอบและป้องกันตนเองจาก
                  อันตรายในช่วงวิกฤตได้ เหมือนเป็นลักษณะการปรับตัวของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง
                  ความกลัวก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์เสมอไป ประสบการณ์ความกลัวที่ผสานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา

                  อาจสร้างความทุกข์ก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติกิจกรรมประจ าวัน แล้วมักน าไปสู่ความไม่สบายใจ จะท า
                  ให้ยุติการกระท าการเข้าร่วมภารกิจที่ก่อให้เกิดความกลัว (สุธีรา นิมิตรนิวัฒน, 2555) เนื่องจากมนุษย์มีความ
                  กลัวเป็นพื้นฐานส่งผลต่อพฤติกรรมที่ท าให้เกิดความกลัวต่อสิ่งนั้น สิ่งที่จะสามารถบรรเทาความกลัวได้ก็คือ
                  ความปลอดภัย เช่น การดูแลความปลอดภัยในเรื่องอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่ต ารวจ ปัญหาอาชญากรรมเป็น

                  ความกลัวที่ประชาชนต้องเผชิญ เมื่อมีเจ้าหน้าที่ต ารวจเข้ามาดูแลในเรื่องอาชญากรรมก็จะสามารถบรรเทา
                  ความกลัวให้ประชาชนกลับมารู้สึกปลอดภัย และออกมาด าเนินชีวิตประจ าวันได้โดยไม่ต้องรู้สึกกลัว
                         ดังนั้น ความหวาดกลัวกับความรู้สึกปลอดภัย หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกทั้งทางร่างกายและจิตใจ
                  ผ่านความรู้สึกอันเป็นสภาวะปกติของมนุษย์ทั่วไปกับสภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการแสดงออกถึงความปลอดภัย

                  ทางด้านความรู้สึก บุคลิกภาพ การกระท าและพฤติกรรม โดยความหวาดกลัวภัยเป็นลักษณะของอารมณ์
                  ความรู้สึกดังที่ Gobiel & Greve (2003) และ Prul Besuch Fischhoff & sorah Lichtentien (1987) (อ้าง
                  ถึงใน กองวิจัยส านักงานยุทธศาสตร์ต ารวจ, 2559) ได้ให้ความหมายและแนวคิดหลักซึ่งประกอบด้วย การรับรู้

                  ความรู้สึก และมิติด้านพฤติกรรมของความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม มิติด้านความรู้สึกที่มีมาก่อนปฏิกิริยา
                  ด้านอารมณ์ที่แท้จริง และกรอบของการประเมินของปัจเจกในส่วนของความเป็นไปได้ที่จะตกเป็นเหยื่อ
                  อาชญากรรม ส่วนมิติทางด้านพฤติกรรมเกิดขึ้นหลังจากมิติทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก และเป็นในสิ่งที่ปัจเจก
                  อ้างว่าจะท าที่เป็นปฏิกิริยา (ความหวาดกลัวภัย) อาชญากรรมที่เขามีประสบการณ์


                          มุมมองความปลอดภัย ความมั่นคงในสังคม และความหวาดกลัว
                         มุมมองความรู้สึกปลอดภัย ความมั่นคงในสังคม ความหวาดกลัว เป็นมุมมองของรัฐและประชาชนที่
                  พบเจอกับอารมณ์ที่มีความส าคัญต่อมนุษย์เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่คิดว่าตนเองจะถูกท าร้าย หรือถูก

                  คุกคามต่อร่างกายหรือจิตใจ ถ้ามนุษย์ไม่มีความกลัว อาจจะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้นาน ความกลัวส่งผลต่อ
                  ระดับอารมณ์ความรู้สึก เป็นเหตุผลส าคัญที่ท าให้เกิดการตอบสนองอย่างอัตโนมัติในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะ
                  ต่อสู้ บุคคลจะมีการโต้ตอบและป้องกันตนเองจากอันตรายในช่วงวิกฤตได้ เหมือนเป็นลักษณะการปรับตัวของ
                  มนุษย์เพื่อความอยู่รอด แต่หากมองในอีกมุมหนึ่งความกลัวก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์เสมอไป ประสบการณ์

                  ความกลัวที่ผสานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา อาจสร้างความทุกข์ก่อให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
                  กิจกรรมประจ าวัน แล้วมักน าไปสู่ความไม่สบายใจ จะท าให้ยุติการกระท าการเข้าร่วมภารกิจที่ก่อให้เกิดความ
                  กลัว (สุธีรา นิมิตรนิวัฒน, 2555) เนื่องจากมนุษย์มีความกลัวเป็นพื้นฐานส่งผลต่อพฤติกรรมที่ท าให้เกิดความ
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114