Page 112 - 22825_Fulltext
P. 112

2-72



                  ให้เกิด (แสงมณีจีรนันเดชา, 2562) โดยค าว่าเพศวิถี (Sexual Orientation) คือ ความรู้สึก รสนิยมทางเพศ
                  รวมถึงความพึงพอใจทางเพศที่มีต่อบุคคลอื่น โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะหลัก ๆ ได้แก่ รักต่างเพศ คือผู้ที่มี
                  รสนิยมชื่นชอบเพศตรงข้าม หรือบุคคลต่างเพศ เช่น ผู้ชายที่ชอบผู้หญิง หรือผู้หญิงที่ชอบผู้ชาย รักเพศเดียวกัน

                  คือผู้ที่มีรสนิยมชื่นชอบเพศเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ เลสเบี้ยน (Lesbian) และเกย์ (Gay) ไบ
                  เซ็กชวล (Bisexual) คือผู้ที่มีรสนิยมชื่นชอบทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยจะมีอารมณ์เสน่หากับเพศตรงข้าม
                  หรือเพศเดียวกันก็ได้ ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ คือผู้ที่ไม่สนใจเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่เพียงรู้สึกสนิทสนม ผูกพันกับบุคคล

                  อื่น (โรงพยาบาลเพชรเวช, 2563)
                         การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) หมายถึง การกระท าที่เป็นการปฏิบัติที่แตกต่างกันในสถานการณ์
                  เดียวกัน โดยการกีดกัน แบ่งแยก จ ากัด อันท าให้บุคคลได้รับสิทธิน้อยกว่าสิทธิที่ตนพึงได้ โดยมีมูลเหตุจูงใจ
                  เนื่องจากเหตุความแตกต่างทางถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ
                  สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม และความคิดเห็น

                  ทางการเมือง (ชนกานต์ สังสีแก้ว, 2560) ทั้งนี้ การเลือกปฏิบัติมีความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับบริบทและ
                  มุมมองในการพิจารณา ส าหรับในทางสังคมวิทยานั้น นักวิชาการ เช่น Rubin และ Hew stone ได้จ าแนก
                  ประเภทของการเลือกปฏิบัติ บนพื้นฐานของทฤษฎีความขัดแย้งเชิงความเป็นจริง (Realistic-Conflict

                  Theory) และทฤษฎีตัวตนทางสังคม (Social-Identity Theory) ดังนี้ 1) การแข่งขันในเชิงรูปธรรม (Realistic
                  Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการได้ทรัพยากรเชิงวัตถุต่าง ๆ
                  เช่น อาหาร สินค้า เขตแดน เพื่อบุคคลในกลุ่ม (The In-group) ดังนั้น การเลือกปฏิบัติเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่
                  บุคคลอันเป็นสมาชิกในกลุ่มและตัวบุคคลนั้นเองเพื่อให้ได้มาหรือเข้าถึงซึ่งทรัพยากรดังกล่าว 2) การแข่งขันเชิง

                  สังคม (Social Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการความภาคภูมิใจ (Self-Esteem) ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย
                  ในการบรรลุถึงสถานะทางสังคมในเชิงบวกส าหรับบุคคลในกลุ่ม (The In-Group) เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคล
                  นอกกลุ่ม (The Out-Group) 3) การเลือกปฏิบัติด้วยความยินยอม (Consensual Discrimination) ถูก
                  ขับเคลื่อนโดยความต้องการความชัดเจน สะท้อนถึงความมั่นคง ความชอบธรรมของการจัดล าดับชั้นในกลุ่ม

                  เช่น การปฏิบัติเป็นพิเศษต่อสมาชิกในกลุ่มที่มีสถานะสูงกว่าสมาชิกอื่น (คณาธิป ทองรวีวงศ์ และคณะ, 2560)
                  การให้บริการจากภาครัฐ หมายถึง การให้บริการพื้นฐานจากหน่วยงานไปสู่ประชาชนโดยตรง โดยประชาชน
                  สามารถท าธุรกรรม ผ่านเครือข่ายสารสนเทศของภาครัฐ อินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นเครื่องมือส าคัญที่จะรองรับ
                  และสามารถตอบสนองกับกิจกรรมที่ประชาชนและการขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การช าระเงิน

                  ภาษี การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการค้นหาข้อมูลของภาครัฐ และการด าเนินการให้บริการข้อมูล
                  ผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น (ส านักวิชาการ, 2558)
                         สิทธิ (Right) ในทางกฎหมาย หมายถึง อ านาจที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลหนึ่งในอันที่จะกระท าการ
                  เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินและบุคคลอื่น หรือเรียกร้องให้บุคคลอื่นหรือหลายคนกระท าการ หรือละเว้นกระท าการ

                  บางอย่างบางประการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตน
                         เสรีภาพ (Liberty) ในทางกฎหมาย หมายถึง สภาวการณ์ของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบง าของ
                  บุคคลอื่น หรือปราศจากการหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง บุคคลใดบุคคลหนึ่งย่อมมีเสรีภาพอยู่เท่าที่บุคคลนั้นไม่ถูก
                  บังคับให้ต้องกระท าในสิ่งที่ไม่ประสงค์จะกระท า หรือไม่ถูกหน่วงเหนี่ยวขัดขวางไม่ให้กระท าในสิ่งที่บุคคลนั้น

                  ประสงค์ที่จะกระท าโดยสรุปแล้วเสรีภาพ คือ อ านาจของบุคคลในอันที่จะก าหนดตนเอง โดยอ านาจนี้บุคคล
                  ย่อมเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ด้วยตนเองตามใจปรารถนา เสรีภาพจึงเป็นอ านาจที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเอง
                  (อานันท์ เกียรติสารพิภพ, 2563)
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117