Page 117 - 22825_Fulltext
P. 117
2-77
การต่อต้านรัฐบาล (ศักดิ์สิน อุดมวิทยไพศาล และคณะ, 2562) กล่าวโดยสรุปว่า การแสดงออกทางการเมือง
อย่างอิสระ นั้นหมายถึง การมีสิทธิในทางกฎหมายที่ให้ไว้กับมนุษย์ทุกคน เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้
อย่างมีส่วนร่วมในทางการเมือง น าไปสู่การชุมนุมทางการเมืองที่เป็นการรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
หรือปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของปัจเจกบุคคลที่มีความชอบในรสนิยมและมี
พฤติกรรมเดียวกัน อันจะน าไปสู่การกดดันทางการเมืองเพื่อสนับสนุน เรียกร้อง หรือต่อต้านรัฐบาล
สื่อมวลชน หมายถึง องค์กรทางสังคมที่มีความส าคัญในยุคปัจจุบัน มีบทบาทหน้าที่ส าคัญต่อสังคมเป็น
อย่างมากในการน าเสนอข่าวสารต่าง ๆ สื่อมวลชนไม่วาจะเป็นสื่อดั้งเดิม หรือสื่อใหม่ต่างมีสิทธิและเสรีภาพอัน
ชอบธรรมในการรายงานข่าวสาร และเหตุการณที่เกิดขึ้นในสังคม (พัชราภา เอื้ออมรวนิช, 2560) ท าให้
ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและรับทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายในสังคม สื่อสารมวลชนจึงจ าเป็นต้องมี
หน้าที่ของตนเองตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นกลาง ความถูกต้องเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง ยึดหลักประโยชน์
สาธารณะเป็นหลักในการน าเสนอข้อมูลที่แท้จริงต่อประชาชน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อ านาจของบุคคลใดบุคคล
หนึ่ง เพื่อคุ้มครองสื่อมวลชนให้มีอิสระสามารถท าหน้าที่ได้อย่างเต็มที่และตรงไปตรงมา (อิทธ ค าตะลุง และปุ่น
วิชชุไตร, 2560) ดังนั้น เสรีภาพของสื่อมวลชน คือ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของระบบประชาธิปไตย หากสื่อมวลชน
ถูกครอบง าโดยรัฐ สื่อมวลชนก็จะเป็นกระบอกเสียงในการโฆษณาชวนเชื่อของผู้มีอ านาจของรัฐ ประชาชน
สามารถรับรู้ข่าวสาร เฉพาะในเรื่องที่ผู้มีอ านาจต้องการให้ประชาชนรับรู้เท่านั้น และหากผู้มีอ านาจครอบครอง
สื่อได้ ย่อมสามารถชักจูงประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาน้อยให้เป็นไปในทางที่ผู้มีอ านาจของรัฐต้องการได้
(ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2557) อาจสรุปความหมายได้ว่าเป็นความสามารถของสื่อมวลชนที่จะ
ปฏิบัติหน้าที่ทั้งการจัดหา เข้าถึงและเผยแพร่ข่าวสารสู่ผู้รับสารอย่างรับผิดชอบโดยปราศจากการควบคุมหรือ
แทรกแซงจากกฎหมาย การเมืองและเศรษฐกิจ
การลักพาตัว เป็นการกระท าที่มีลักษณะของการล่อลวง ข่มขืนจิตใจให้ผู้เสียหายกระท าการใดหรือไม่
กระท าการใด ท าให้จ ายอมต่อสิ่งใดเพื่อการกักขังหรือหน่วงเหนี่ยว การกระท าที่ให้ผู้อื่นนั้นปราศจากเสรีภาพ
ในร่างกาย ตามฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309, 310, 310ทวิ, 313, 31 และการสังหาร
หมายถึง การฆ่าคน ตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการกระท าให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรม
ประเภทหนึ่งทางนิติศาสตร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ การท าให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการท าให้คน
ตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระท าต้องระวางโทษหนักหรือเบาตาม
กฎหมายแล้วแต่กรณี สอดคล้องกับความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2544) ว่าการสังหาร
หมายถึง การฆ่าคน อาจสรุปได้ว่า จ านวนการลักพาตัว การท าให้สูญหาย การกักตัว และทรมานนักข่าวและ
นักสิทธิมนุษยชน หมายถึง อัตราการเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ การสังหาร การลักพาตัว การท าให้สูญหาย การกัก
ตัวและทรมานตามฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา จากรายงานของ Reporters without borders
ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลก าไรเอกชนนานาชาติ
มาตรา 112 การตีความที่ปรากฏในค าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ค าพิพากษาหลายกรณีในคดีมาตรา
112 ในชวงที่ผ่านมา ในบทความและค าอธิบาย ของนักกฎหมายคนส าคัญในเมืองไทยหลายคน ดังเช่น มีชัย
ฤชุพันธุ์ (2555) ที่เสนอว่า บทบัญญัติในลักษณะมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ
ถาวรฉบับแรกในปี 2475 เมื่อรัฐธรรมนูญรับรองฐานะของพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพสักการะ จึงจ าเป็นที่
จะต้องมีบทกฎหมาย ก าหนดว่าคนทั่วไปจะต้องท าอย่างไร ซึ่งกฎหมายมิได้ก าหนดให้ต้องท าอะไรมากไปกว่า
“การไม่ไปหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงการอาฆาตมาดร้าย”