Page 118 - 22825_Fulltext
P. 118

2-78



                         ดังนั้น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงมีขึ้นเพื่อคุ้มครองในเรื่องนี้ และเป็นการบัญญัติที่
                  สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของไทยแล้ว เช่นเดียวกันกับค าอธิบายของรายงานของ ARTICLE19 (2564) ที่ระบุ
                  ข้อความของมาตรา 112 ในปัจจุบันว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย

                  พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้ส าเร็จราชการแทนพระองค์  ต้องระวางโทษจ าคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง
                  15 ปี”
                         อีกทั้งในค าวินิจฉันส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ หลายท่านให้ความเห็นในลักษณะที่

                  ตีความมาตรา 112 ไปถึงการคุ้มครองการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆมิได้อีกด้วย เช่นการที่ประมวลกฎหมายอาญา
                  มาตรา 112 ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นความผิดตามมาตรา 329 หรือยกเว้นโทษตามมาตรา 330 ดังเช่น ความผิด
                  ฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาตามมาตรา 326 เนื่องจากพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้ส าเร็จ
                  ราชการแทนพระองค์มีฐานะพิเศษแตกต่างจากบุคคลธรรมดา หากให้มีการแสดงความคิดเห็นและการ
                  วิพากษ์วิจารณ์โดยมีบทยกเว้นความผิด ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลอาศัยช่องทางดังกล่าววิพากษ์วิจารณ์

                  ได้
                         การบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 หากมีการละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ หมิ่นประมาท วิพากษ์วิจารณ์
                  ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ เช่น การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเลิกล้างสถาบันกษัตริย์ หรือในทางกฎหมายอาญา ใน

                  รูปการกล่าวหา จับกุม หรือฟ้องร้องทางอาญา หรือทางแพ่ง แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่
                  เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ต่างๆ หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนของกษัตริย์ก็ถือเป็นความผิดต่อพระบรมเดชานุภาพของ
                  กษัตริย์ได้ เพราะถือว่าเป็นการละเมิดต่อผู้ที่มีสถานะสูงสุดทางสังคม และกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างของ
                  สังคมศักดินา (นพพล อาชามาส, 2557) อาจสรุปได้ว่า จ านวนคดีและการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 112

                  หมายถึง อัตราการเกิดขึ้นจากการหมิ่นประมาท วิพากษ์วิจารณ์ เรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง และการลด
                  อ านาจสถาบันกษัตริญ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยตรง
                         จ านวนผู้ถูกกักขังที่รอการพิพากษาในสัดส่วนของประชากรในเรือนจ า หมายถึง อัตรา
                  ของประชากรในเรือนจ าตามรายงานที่สรุปโดยกรมราชทัณฑ์ (2562) คือ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี โดย

                  บุคคลดังกล่าวถูกจ ากัดเสรีภาพ ซึ่งค านิยามผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีตามความหมายของพระราชบัญญัติ
                  ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 หมายถึง บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง โดยหมายขังเป็นหมายอาญาชนิดหนึ่งตาม
                  ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (9) ผู้มีอ านาจออกหมายขังดังกล่าว คือ ศาล (ส านักงาน
                  คณะ กร ร ม กา ร กฤษฎี กา ,  2562)   แ ล ะ ก า ร ค ว บ คุ ม ตั ว ร ะ ห ว่ า ง ค ดี   คื อ

                  การจ ากัดเสรีภาพในร่างกายหรือเสรีภาพในการเคลื่อนไหวเปลี่ยนที่ของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระท าผิด เพื่อเป็น
                  หลักประกันส าหรับรัฐในการด าเนินคดีชั้นก าหนดคดีหรือหลักประกันส าหรับรัฐ ใน
                  การด าเนินคดีชั้นบังคับคดี โดยหลักประกันส าหรับรัฐทั้งสองประการดังกล่าว หมายถึงการควบคุมและการขัง
                  (พิมพร รุ่งทิฆัมพรชัย, 2558)

                         มุมมองและความแตกต่างในการยอมรับความหลากหลาย การเลือกปฏิบัติ การเคารพสิทธิมนุษยชน
                  รวมถึงการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
                             1) มุมมองต่อการยอมรับให้บุคคลที่มีลักษณะแตกต่างจากคนทั่วไปมีบทบาททางสังคมและ
                  การเมือง

                             สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได  (Universality & Inalienability)
                  หมายความว่า สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นของคนทุกคน ไม่มีพรมแดน คนทุกคนมีสิทธิมนุษยชน ทั้งสิทธิพลเมือง
                  สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ และสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรม เพราะโดยหลักการแลว คนทุกคนยอม

                  ถือว่าเป็นคน ไม่วาจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ ถิ่นก าเนิดใดก็ตาม ยอมมีสิทธิมนุษยชนประจ าตัวของทุกคน จึงเรียก
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123