Page 123 - 22825_Fulltext
P. 123

2-83



                  ข่าว อคติส่วนตัวของนักข่าว และสิทธิส่วนบุคคล (ส านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ
                  โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, 2559) ส่งผลให้เสรีภาพของสื่อมวลชนจ าเป็นต้องควบคู่กับความ
                  รับผิดชอบของสื่อมวลชน ปัญหาเรื่องความรับผิดชอบของสื่อมวลชนเป็นสิ่งที่ถูกสังคมกล่าวถึงอย่างมาก แนว

                  ทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจ าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ดังเช่น สื่อมวลชน หน่วยงานที่
                  เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนต่าง ๆ รวมถึงตัวผู้รับสาร โดยการให้ความรู้กับผู้รับสารในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ การ
                  ควบคุมการเข้ามาเป็นเจ้าของสื่อของนายทุนรวมถึงการสร้างจิตส านึกด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบให้กับ

                  สื่อมวลชน และมีข้อบังคับที่ชัดเจนในเรื่องจริยธรรมและความรับผิดชอบของสื่อมวลชน โดยสมาคมต่าง ๆ จะ
                  เป็นแรงขับเคลื่อนที่ส าคัญในการแก้ไขปัญหา จากการวิพากษ์วิจารณ์อย่างยาวนาน และน าข้อบังคับต่าง ๆ มา
                  ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทุกฝ่ายต่างท าหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสม อาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วย
                  แก้ไขปัญหาจากการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อ และยังสามารถท าให้สื่อท างานได้อย่างมีเสรีภาพภายใต้ความ
                  รับผิดชอบ (พัชราภา เอื้ออมรวนิช , 2560) สอดคล้องกับ ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว และยุบล เบ็ญจรงค์กิจ

                  (2554) พบว่า สื่อมวลชนมองว่าสื่อไทยมีเสรีภาพพอสมควร โดยอยู่ภายใต้กฎหมาย
                             จากที่กล่าวมาข้างต้น รัฐควรมีการปฏิรูปโครงสร้างสื่อ โดยการเป็นเจ้าของกิจการสื่อ สื่อหลัก
                  ยังคงเป็นของรัฐ ท าให้การท างานไม่มีเสรีภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม (ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว และยุบล เบ็ญ

                  จรงค์กิจ, 2554) ขณะเดียวกันควรให้เสรีภาพในการน าเสนอข่าวสารและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจ ากัดตาม
                  รัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการ
                  นั้นแต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและ
                  ความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ  นอกจากนั้นแล้วยังครอบคลุมไปถึงข้าราชการ

                  พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุ
                  โทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ๆ ก็ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทเอกชน (อิทธ ค า
                  ตะลุง และปุ่น วิชชุไตร, 2560)
                             5) มุมมองด้านพหุวัฒนธรรม

                             แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม 4 ทฤษฎีประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์
                  เชิงอ านาจ ซึ่งมีฐานความคิดที่จะต้องท าความเข้าใจอยู่ 3 ฐานความคิด คือ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์
                  ลักษณะความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่คือ ต่างคนต่างมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองที่แตกต่างกัน การมี
                  แนวคิดในลักษณะนี้จะช่วยให้คนในสังคมลดการดูถูก เหยียดหยามทางวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้

                  ความแตกต่างและการให้ความเคารพในสิทธิเสรีภาพของกันและกัน สังคมพหุวัฒนธรรมเป็นแนวคิดที่มีการ
                  พัฒนาเพื่อให้สังคมเกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายอันเรียกว่า “สังคมพหุ
                  วัฒนธรรม”เกิดจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนา แต่อย่างไรก็ตาม การยอมรับความ
                  แตกต่างทางศาสนาและวัฒนธรรมบนพื้นฐานเสรีภาพ จากการศึกษาพหุวัฒนธรรมได้รับความสนใจมากขึ้นจน

                  เห็นได้ในหลากหลายองค์กร และสืบเนื่องจากการที่ประชากรมีการแลกเปลี่ยนความรู้และสามารถย้ายถิ่นฐาน
                  อย่างถาวร จากเหตุที่มีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานจึงเกิดการศึกษาเรียนรู้ภาษาในเรื่องของการเป็นอยู่ วัฒนธรรม
                  การด าเนินชีวิตภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมาย พร้อมระเบียบปฏิบัติใหม่ แต่ประชากรกลุ่มดังกล่าวก็ไม่ได้ทอดทิ้ง
                  ภาษา วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนาเดิม (พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม และ คณะ, 2562) สอดคล้องกับ

                  การศึกษาของยุทธนา นรเชฏฺโฐ และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์ (2562) พบว่า หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม
                  พหุวัฒนธรรมในประเทศไทย ตามหลักการของศาสนาที่ส าคัญในประเทศไทย คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม
                  ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาซิกข์ มีความสอดคล้องกัน คือ การอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความ

                  เมตตา ความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน เคารพในความแตกต่างของกันและกัน การมีกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128