Page 128 - 22825_Fulltext
P. 128
2-88
ปัจจุบันปรากฏว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยก าลังประสบปัญหาจ านวนผู้ต้องขังใน
ระหว่างการพิจารณาคดีมีจ านวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ การคุมขังผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีไว้ในเรือนจ าเป็น
เวลานานได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นผลกระทบต่อตัวผู้ต้องขังและครอบครัวในระหว่างที่รอการ
พิจารณาคดี และส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (สุมนทิพย์ จิตสว่าง และ นัทธี จิตสว่าง, การ
คุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม, 2556) สอดคล้องกับ พิมพร รุ่งทิฆัมพรชัย
(2558) พบว่า แนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทย บุคคลเหล่านี้ถูกส่งตัวเข้ามา
อยู่ในเรือนจ า เนื่องจากประเทศไทยไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะขยายเรือนจ าหรือสร้างสถานที่คุมขังเพิ่มเติม
อีกทั้งไม่มีงบประมาณในการจัดหาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เพื่อควบคุมดูแล จึงต้องน าผู้ต้องขังในระหว่างพิจารณา
คดีไปควบคุมหรือคุมขังไว้รวมกับนักโทษเด็ดขาด โดยชีวิตความเป็นอยู่ในระหว่างที่รอการพิสูจน์ความบริสุทธิ์
ของตนเองนั้น จะต้องอยู่ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิ
และเสรีภาพของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเพราะเป็นการปฏิบัติเสมือนว่าเป็นผู้กระท าผิด และการที่ประเทศ
ไทยคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีไว้รวมกับนักโทษเด็ดขาด ยังก่อให้เกิดผลกระทบและผลเสียหายต่อ
ภาครัฐ และสังคมไทย (พิมพร รุ่งทิฆัมพรชัย, 2558) ทั้งประสบปัญหากับตนเองและครอบครัวต้องขาดรายได้
เพราะต้องถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี ดังเห็นได้จากผลการศึกษาในประเทศเม็กซิโก ที่แสดงให้เห็นถึง
รายได้ที่ผู้ต้องขังต้องสูญเสียไปมีจ านวนมากถึง 100 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (สุมนทิพย์ จิตสว่าง และ นัทธี
จิตสว่าง, การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม, 2556) ส าหรับค่าใช้จ่ายในขณะที่
ถูกคุมขังจะเกิดขึ้นจ านวนมาก เนื่องจากต้องใช้เงินในการซื้ออุปโภคบริโภค เนื่องจากประเทศที่ก าลังพัฒนา
หลายประเทศไม่มีงบประมาณที่เพียงพอส าหรับสาธารณูปโภคที่จ าเป็นส าหรับผู้ต้องขังในระหว่างการพิจารณา
คดีในเรือนจ า นอกจากนี้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีอาจต้องเผชิญกับโรคติดต่อ ประสบปัญหาด้านสุขภาพ
รวมทั้งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในสังคมของผู้ต้องขัง จากการไม่ยอมรับของสังคมได้เมื่อพ้นโทษ โดย
ผลกระทบของการคุมขังไม่ได้ส่งผลต่อครอบครัวของผู้ต้องขังเพียงอย่างเดียว หากแต่ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่
อยู่อาศัย โดยหากชุมชนมีจ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีมาก จะท าให้เกิดกลุ่มคนที่แปลกแยกทางสังคม
ท าให้เกิดความยากจนเพิ่มขึ้น (สุมนทิพย์ จิตสว่าง และ นัทธี จิตสว่าง, การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระหว่างการ
พิจารณาคดีของศาลยุติธรรม, 2556)
ส าหรับข้อเสนอแนะปริญญา เทวานฤมิตรกุล (2562) กล่าวว่า คุก ควรมีไว้ขังอาชญากร ดังนั้น
คนที่ไม่ใช่อาชญากรไม่ควรถูกน าไปขังไว้ในคุก โดยเฉพาะเรือนจ าในประเทศไทย ส่วนใหญ่ที่ถูกขังมาจากคดียา
เสพติด ส่วนประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือว่า ผู้เสพยา มีปัญหาทางด้านสุขภาพและต้องแก้ปัญหาด้วยกระบวนการ
ทางสาธารณสุข ผู้ต้องขังในคดียาเสพติดจึงมีเฉพาะผู้ค้ายารายใหญ่เท่านั้น ปัจจุบันทางเลือกในการลงโทษ
น้อยลง เมื่อเป็นเช่นนี้ ศาลจึงมีทางเลือกในการลงโทษน้อย เพราะการจ าคุกยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ ดังนั้น
การลงโทษด้วยวิธีการจ าคุก จึงนิยมใช้ อีกทั้งศาลยุติธรรมควรมีบทบาทในการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขัง
ระหว่างการพิจารณาคดีในขั้นตอนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ต ารวจ ควรให้ความคุ้มครองผู้ต้องขังระหว่างการ
พิจารณาคดี ได้แก่ การแจ้งสิทธิเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ต ารวจ ปรับแก้ระยะเวลาฝากขังผู้ต้องขังระหว่างการ
พิจารณาให้น้อยลง ควรตรวจสอบการคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีว่ามีการแยกคุมขังระหว่างนักโทษ
เด็ดขาดและผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี สภาพเรือนจ า ความปลอดภัยในระหว่างการคุมขัง การตรวจสอบ
การเข้าถึงสิทธิในการมีทนายความให้ค าปรึกษา และผู้พิพากษาควรคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณา
คดีในขั้นตอนการปล่อยตัว คือ ควรมีการปล่อยตัวผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีที่ยกฟ้องได้เลย โดยไม่ต้อง
น าไปควบคุมตัวที่เรือนจ าก่อนที่จะมีการปล่อยตัว การแจ้งสิทธิค่าชดเชยที่จะได้รับ และกระบวนการในการ
ด าเนินการเพื่อรับค่าชดเชย รวมทั้งสิทธิในการฟ้องกลับให้แก่ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี (สุมนทิพย์ จิต