Page 126 - 22825_Fulltext
P. 126
2-86
เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่เอื้ออ านวยต่อการดึงดูดให้เกิดขบวนการค้ามนุษย์ ประเทศไทยมีจุด
ผ่านแดนทั้งที่เป็นทางการและที่ไม่เป็นทางการหลากหลายช่องทาง ตลอดจนพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความยาว
ตลอดพื้นที่ภาคใต้ (4) กลุ่มผู้ซื้อบริการทางเพศยังมีความต้องการเด็กและสตรีเพื่อตอบสนองความต้องการทาง
เพศ ส่วนหนึ่งเกิดจากความคิดและค่านิยมที่ไม่เหมาะสมด้านเพศ (5) การปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการท างาน
ของเครือข่ายการค้ามนุษย์จากเดิมที่แต่ละเครือข่ายต่างคนต่างท า พัฒนามาเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้น
และ(6) ความยากจน เป็นปัจจัยส าคัญที่ผลักดันให้กลุ่มคนยากจนจากประเทศเพื่อนบ้านตัดสินใจหนีสภาพ
ความอดอยากแร้นแค้น โดยใช้ประเทศไทยเป็นช่องทางเข้ามาแสวงหาโอกาส ซึ่งนักค้ามนุษย์ก็ใช้ความยากจน
เป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (วัชรา ไชยสาร, 2559)
การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้ประสบความส าเร็จหรืออย่างน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับที่บรรเทาลง
ไปได้นั้น จะต้องแก้ไขปัญหาทั้งในพื้นที่ประเทศต้นทางและประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ โดยประเทศต้น
ทางหมายถึง ประเทศที่เหยื่อการค้ามนุษย์เดินทางจากมานั้นจะต้องได้รับการแก้ไขปัญหาในเรื่องของการ
พัฒนาในพื้นที่ต้นทาง เช่น การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสร้างงานสร้างอาชีพในท้องถิ่น การเพิ่มโอกาสทาง
การศึกษาแก่ประชาชน การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนในเรื่องของการเดินทางไปท างานยัง
ต่างประเทศ รวมไปถึงมาตรการในการระงับปัญหาการสู้รบระหว่างฝ่ายที่มีความขัดแย้งระหว่างกัน อันจะ
ส่งผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างโอกาสในการจ้างงานในท้องถิ่น ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาขั้น
พื้นฐานในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ประเทศที่แรงงานต่างด้าวหรือเหยื่อการค้า
มนุษย์เดินทางเข้าไปท างานนั้นก็นับว่าเป็นสิ่งที่ส าคัญ โดยสิ่งที่จะต้องได้รับการแก้ไขในพื้นที่ คือ การบังคับใช้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเข้มงวดรัดกุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข
ปัญหาแต่กลับรู้เห็นเป็นใจกับนายจ้างในการกระท าผิดกฎหมาย ซึ่งการกระท าดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ จะ
กลายเป็นอุปสรรคที่ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์หรือการเอารัดเอาเปรียบด้านแรงงานนั้นได้รับการ
แก้ไขให้บรรเทาลงไปได้ยากยิ่งขึ้น (ศิบดี นพประเสริฐ, 2553)
7) จ านวนของกรณีที่มีการสังหาร การลักพา การท าให้สูญหาย การกักตัวและทรมานนักข่าวและ
นักสิทธิมนุษยชน
จากรายงานของ Reporters without borders ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลก าไรของเอกชนที่
นานาชาติให้การสนับสนุนในการปกป้องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพข้อมูลข่าวสาร ได้รายงานว่าประเทศไทยมีการ
สังหาร การลักพาตัว สูญหาย การกักตัว การทรมานนักข่าวและนักสิทธิมนุษยชน ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562
จ านวนเป็น “0” ราย เนื่องจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวอาจจะวัดจากเฉพาะสื่อมวลชน และจ านวนการสังหารหรือ
การลักพาตัวที่เกิดขึ้นแต่ภายในประเทศนั้นเพียงอย่างเดียว แต่ทางกลับกันจ านวนกรณีที่มีการสังหาร การ
ลักพา ท าให้สูญหาญ มักจะเกิดขึ้นในต่างประเทศ
ในกรณีของการอุ้มหายในประเทศไทยนั้น ได้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่
เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐ จากรายงานคณะท างานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจขององค์การ
สหประชาชาติ ระหว่างปี 2523-2561 พบว่า ประเทศไทยมีบุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (เท่าที่ได้รับรายงาน)
จ านวน 86 คน (จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา, 2563) ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2562 มีบุคคลถูกบังคับให้สูญหายอยู่หลายราย
ทว่า บางรายเสียถึงกับชีวิตในประเทศไทยแต่พึ่งทราบว่าเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2562 บางรายเสียชีวิตอยู่ต่างแดน
และบางรายไม่ทราบชะตากรรม ทั้งหมดล้วนมีความเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ความรุนแรงอีกระดับที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้
ควบคู่กับการทรมาน เพื่อยุติความขัดแย้งกับคนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรม คือ “อุ้มหาย” เมื่อไม่มีศพ
ไม่มีหลักฐาน จึงยากต่อการสืบหาความจริงว่าเกิดอะไรขึ้นกับบุคคลที่สูญหาย แม้หลายกรณีมีพยานเห็นว่า
หายไปหลังถูกเจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวก็ตาม การอุ้มหายถูกเลือกใช้เป็นเครื่องมือจัดการคนเห็นต่างกับรัฐบาล