Page 125 - 22825_Fulltext
P. 125
2-85
(อุดร หลักทอง, 2558) คณะสงฆ์และผู้น าทางศาสนาทุกศาสนาและทุกระดับในสังคมไทย ควรตระหนักถึง
บทบาทและหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันป้องกันปัญหาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วร่วมกัน โดยถือเป็น
ภาระหน้าที่ที่จะต้องท าให้ผู้ที่นับถือศาสนาของตน ศึกษาเรียนรู้ท าความเข้าใจหลักธรรมค าสั่งสอนที่ถูกต้องใน
ศาสนาของตน และสามารถน าเอาสาระส าคัญของค าสอนไปปฏิบัติในวิถีชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
และทุกคนในสังคมไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ๆ ต้องให้ปรับเปลี่ยนทรรศนะต่อการอยู่ร่วมกันในแนวทางที่ดีงาม
สร้างสรรค์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในสังคมให้มากขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ท าให้
การด าเนินชีวิตของทุกคนเป็นไปอย่างเร่งรีบค านึงถึงแต่ตนเองขาดความรัก ความปรารถนาดีต่อคนอื่น มุ่งเน้น
แต่ประโยชน์ตนเอง (ยุทธนา นรเชฏฺโฐ และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์, 2562)
6) จ านวนเหยื่อจากการค้ามนุษย์ (ต่อหนึ่งแสนคน)
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2560 ในมาตรา 6 ระบุเกี่ยวกับการค้า
มนุษย์ ไว้ว่า “ผู้ใดกระท าการอย่างหนึ่งอย่างใด (1) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วง
เหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ โดยใช้ก าลัง บังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้
อ านาจโดยมิชอบ ใช้อ านาจครอบง าบุคคลด้วยเหตุที่อยู่ในภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา หรือทาง
อื่นใดโดยมิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ โดยให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่
ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระท าความผิดในการแสวงหา
ประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล หรือ (2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง
จัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ถ้าการกระท านั้นได้กระท าโดยมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิ
ชอบผู้นั้นกระท าความผิดฐานค้ามนุษย์” (เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย จากรายงาน
Trafficking in Persons Report 2562 ได้กล่าวถึงประเทศไทยว่า รัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ า
อย่างเต็มที่ในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ แต่มีความพยายามอย่างมีนัยส าคัญในการด าเนินการดังกล่าว
รัฐบาลไทยแสดงความพยายามโดยรวมมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงการรายงานปีที่ผ่านมา ดังนั้นประเทศไทยจึง
ยังคงอยู่ในกลุ่มที่ 2 ความพยายามดังกล่าวประกอบไปด้วยการระบุผู้เสียหายมากขึ้น การพิพากษานักค้ามนุษย์
ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดและเจ้าหน้าที่รัฐที่สมรู้ร่วมคิดให้รับโทษจ าคุกร้ายแรง การจัดท าคู่มือต่าง ๆ ในการ
ร่วมงานกับภาคประชาสังคม เพื่อก าหนดมาตรฐานการฝึกอบรมและนโยบายการป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ เป็นครั้งแรกที่พนักงานตรวจแรงงานระบุและส่งตัวผู้ที่อาจเป็นผู้เสียหายต่อไปยังคณะท างานสหวิชาชีพ
ส่งผลให้มีการระบุผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้น
ต่ าในหลายเรื่องหลัก มีการด าเนินคดีและพิพากษาลงโทษนักค้ามนุษย์น้อยลง และสืบสวนสอบสวนคดีการค้า
แรงงานเพียง 43 คดีเท่านั้น รัฐบาลจ ากัดการเดินทางและการสื่อสารของผู้เสียหายที่พักอาศัยอยู่ในสถานพักพิง
ของรัฐ การที่เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนสมรู้ร่วมคิดยังคงเป็นอุปสรรคต่อการปราบปรามการค้ามนุษย์ และเจ้าหน้าที่
ไม่ได้ระบุคดีการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอย่างสม่ าเสมอ (สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุล
ในประเทศไทย, 2562) ซึ่งจากสถิติการช่วยเหลือผู้เสียหายในปี 2561 มีจ านวนผู้เสียหายเพิ่มขึ้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับปี 2560 เป็นผลสืบเนื่องจากการจับกุมกลุ่มบุคคลหรือขบวนการรายใหญ่ได้หลายคดีเพิ่มขึ้น
(กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2561)
ทั้งนี้ปัจจัยที่เป็นสาเหตุท าให้เกิดกระบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย (1) ปัจจัยด้านความเจริญ
ทางด้านการคมนาคม ท าให้ประเทศไทยมีถนนเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นช่องทางที่ท าให้เดินทาง
ขนส่งข้ามแดนมีความสะดวกมากขึ้น (2) การด าเนินนโยบายของรัฐ ท าให้มีความจ าเป็นของการใช้แรงงานเพื่อ
กระตุ้นให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการเปิดประเทศเข้าสู่ระบบ
เศรษฐกิจโลก ท าให้ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเกิดความต้องการแรงงานราคาถูกเพิ่มขึ้น (3)