Page 129 - 22825_Fulltext
P. 129

2-89



                  สว่าง และ นัทธี จิตสว่าง, การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม, 2556) ประมวล
                  กฎหมายวิธีพิจารณาต้องมีการจัดท ากระบวนการให้มีความแน่นอน เชื่อถือได้ มีระบบการด าเนินคดีปกติและ
                  การจัดการคดีที่ไม่เป็นไปตามปกติ น ามาตรการที่เป็นเงื่อนไขในการระงับคดีมาใช้มากขึ้น เช่น ชะลอการฟ้อง

                  ฯลฯ เพื่อให้สามารถผันคดีที่ไม่จ าเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติออกไปได้ (ธานี วรภัทร์, ม.ป.ป.) และ
                  สถานพยาบาลควรจัดให้มีการตรวจรักษาที่รวดเร็ว ขยายพื้นที่อาคารสถานพยาบาลให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้
                  อย่างเพียงพอ และควรมีการแยกผู้ต้องขังเด็ดขาดกับผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีออกจากกัน (เกษมสันต์

                  ดวงกลาง และ สุวิชชา ปัทมจิตร, 2551)
                             9) จ านวนคดีและการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 112
                             จากรายงานของ ARTICLE 19 ซึ่งเป็นองค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชนนานาชาติที่ท างานเพื่อปกป้อง
                  และส่งเสริมเสรีภาพ ในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก กล่าวว่า
                  การกลับมาของใช้กฎหมาย “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” ในประเทศไทยถูกจัดท าขึ้นในเวลาที่เหมาะสม

                  เช่นเดียวกับในอดีต ปัจจุบันเจ้าหน้าที่รัฐไทยก็มีการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ เพื่อปิดกั้นการ
                  แสดงความคิดเห็นทางการเมืองและลงโทษประชาชนที่เรียกร้องการปฏิรูปตามระบอบประชาธิปไตย
                             ในยุคของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การด าเนินคดีฐานหมิ่นประมาท

                  พระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เป็นประเด็น
                  อ่อนไหวส าหรับสังคมไทยอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มระดับการบังคับใช้และการสร้างบรรยากาศความกลัวมากขึ้น
                             จากการศึกษาคดีมาตรา 112 ในโลกที่สื่อสารผ่านเทคโนโลยีของศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดี
                  เสรีภาพ (2558) พบว่า จากการเก็บข้อมูลคดีมาตรา 112 ของศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดยโครงการ

                  อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (หรือ iLaw) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 พบว่า นับตั้งแต่การรัฐประหาร พ.ศ.
                  2557 จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2558 มีผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกด าเนินคดีด้วยมาตรา 112 อย่างน้อย 53 คน (ไม่
                  รวมคดีมาตรา 112 ที่เกิดจากการแอบอ้างสถาบันฯ) ในจ านวนนี้มีอย่างน้อย 42 คน ที่ถูกกล่าวหาหรือ
                  ด าเนินคดีในความผิดที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ด้วยลักษณะความผิดที่หลากหลาย เช่น การโพสต์ข้อความ

                  บนเฟซบุ๊ก การเผยแพร่บทความหรือบทกวีบน เว็บไซต์ การท าคลิปเสียงเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ส่งต่อหรือ
                  แชร์เนื้อหาขณะที่ก่อนการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 เคยมีช่วงเวลาที่มีการจับกุมด าเนินคดีกับผู้ต้องหาคดี
                  มาตรา 112 หลายๆ กรณี คือ หลังการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ใน พ.ศ. 2553 ซึ่งช่วงเวลานั้นมี
                  สถิติผู้ต้องขังตามมาตรา 112 อยู่ในเรือนจ า สูงที่สุดคือ 13 คน ส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระท าผ่าน

                  เทคโนโลยี สอดคล้องกับรายงานของ FIDH เป็นสหพันธ์นอกภาครัฐส าหรับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า
                  ช่วงระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 มีบุคคลจ านวน 124 ราย ซึ่งเป็นเยาวชน
                  อย่างน้อย 8 ราย ถูกด าเนินคดีภายใต้มาตรา 112
                             อีกทั้ง มีความสอดคล้องกับรายงานของ ARTICLE 19 (2564) กล่าวว่า นายจตุภัทร์เป็นบุคคลแรก

                  ที่ถูกฟ้องด้วยข้อหานี้ หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ขึ้นครองราชย์ เขาถูกจับกุมจากการ
                  แชร์บทความข่าว บีบีซีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์บนหน้าเฟซบุ๊ก คดีของจตุภัทร์เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่รัฐ
                  ไทยใช้ข้อหาเดียวกันในการเอาผิดกับประชาชนอย่างน้อย 98 คน ระหว่างปี 2557-2561 และในปี 2563 มีการ
                  บังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรา 112 อย่างน้อย 59 คน รวมถึงแกนน าผู้ชุมนุมหลายคน

                             นอกจากนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าช่วงระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกา 2563 ถึง
                  วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้ถูกด าเนินคดีในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 170 คน ใน 177
                  คดี (นับคดีที่มีผู้ได้รับหมายเรียก แต่ยังไม่ได้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาด้วย) โดยพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหา

                  แยกเป็นคดีที่เกี่ยวกับการปราศรัยในการชุมนุมจ านวน 36 คดี คดีการแสดงออกอื่นๆ ที่ไม่ใช่การปราศรัย เช่น
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134