Page 134 - 22825_Fulltext
P. 134

2-94



                         ความเหลื่อมล้ าด้านการศึกษาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ท าให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา และ การ
                  เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากประเทศไทยก าลังประสบปัญหากับความเหลื่อมล้ าทางการศึกษาทั้งใน

                  ด้านต่างๆ โดยภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมและด้านคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาที่
                  ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน การศึกษาถือว่าเป็นกลไกส าคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวต่อไปได้ แต่การจะท าให้

                  เด็กได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีความเท่าเทียมกัน ทั่วถึงกันนั้นเป็นเรื่องที่ท าได้ยาก แม้จะมีนโยบาย
                  มากมายที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนามากขึ้น แต่นโยบายมีแต่ชนชั้นกลางและชั้นสูงที่ได้รับผลประโยชน์ (รัช
                  วดี แสงมะหมัด : 2560) ยิ่งไปกว่านั้นความต่างระหว่างภูมิภาค ระหว่างกรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่และเมือง

                  รอง ความแตกต่างของคนชายขอบในแง่ภูมิศาสตร์ เช่น ตะเข็บชายแดน ภูเขาสูงที่ภาครัฐสามารถเข้าถึงยาก
                  รวมถึงในแง่กลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมด้อยกว่าทั่วไป เช่น ชนเผ่า แรงงานต่างด้าว คนพิการ บุคคลที่มีความ

                  หลากหลายทางเพศ เป็นต้น (วินิจ ผาเจริญ : 2564 )

                       โดยสาเหตุของปัญหาความเหลื่อมล้ าในที่ดิน คือ 1) นโยบายการจัดการที่ดินจากภาครัฐที่เอื้อต่อการ

                  แข่งขันทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จะได้เห็นได้ว่านโยบายส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของภาครัฐเป็น
                  สาเหตุที่ส าคัญที่ส่งผลต่อปัญหาความเหลื่อมล้ าในการถือครองที่ดิน โดยรัฐการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีนโยบาย
                  แปลงทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร่งรัดการออกโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดย
                  ไม่มการวางแผนการใช้ที่ดิน ซึ่งประเทศไทยคือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี และการแข่งขันและการเข้าถึง

                  ทรัพยากรทางเศรษฐกิจได้อย่างอิสระ ท าให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ 2) การ
                  บริหารแบบรัฐเป็นศูนย์กลาง สาเหตุในเชิงโครงสร้างที่มีรัฐเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา มีอ านาจในการจัดสรร
                  และกระจายทรัพยากรอย่างเต็มที่ กลไกทางการเมืองแบบประชาธิปไตรในสังคมมีการรวมศูนย์อ านาจที่เอื้อ
                  ประโยชน์ให้แก่กลุมชนชั้นน าในสังคม ในลักษณะที่น าพาประเทศไปสู่ความทันสมัยและความก้าวหน้าใน

                  แนวทางของเศรษฐกิจกระแสหลักมีการออกแบบพัฒนาเน้นนโยบายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปิด
                  เสรีทางการค้าเป็นระบบที่สงผลใหการครอบครองทรัพยากรของประเทศตกอยู่ในการครอบครองของนายทุน
                  และผู้มีอ านาจสวนใหญ่ (ธันภัทร โคตรสิงห์ : 2559) 3) ศาสตร์ความรู้ที่แยกคนออกจากป่า ซึ่งเป็นแนวคิดเรื่อง
                  นิเวศวิทยา กระแสหลัก เป็นแหล่งผลิตวาทกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                  ภายใต้กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ มองธรรมชาติแยกขาดออกจากมนุษย์ ถูกน ามาใช้ก าหนดนโยบายจัดการเขต
                  อนุรักษ์ โดยการเก็บรักษาผืนป่าไว้ให้เปนพื้นที่ปราศจากมนุษย์และปลอดจากรบกวน ชุมชนในป่าถูกมองว่า
                  เป็นวิถีที่ท าลายธรรมชาติ น าไปสู่การกีดกันชุมชนท้องถิ่นจากการเข้าถึงทรัพยากร และเป็นที่มาของนโยบาย

                  อพยพออกจากป่า 4. ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ รัฐไม่มีกลไกในการบริหาร
                  จัดการที่ดินอย่างยั่งยืนและครอบคลุมทั้งระบบ ทั้งในระดับนโยบาย ระดับหน่วยงานที่ปฏิบัติ และระดับ
                  กฎหมายหรือนโยบาย โครงสร้างกฎหมาย มีความทับซ้อน เก่าแก่ ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ


                           สรุป
                           การศึกษาสันติภาพของประเทศตะวันตก เน้นศึกษาสันติภาพเกี่ยวข้องกับทั้งสันติภาพ

                  เชิงลบและสันติภาพเชิงบวก ซึ่งเราจ าเป็นต้องเข้าใจสันติภาพว่ามากไปกว่าความรุนแรงทางกายภาพเท่านั้น แต่
                  ยังมีความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมที่ฝังลึก  ซ่อนอยู่ข้างใต้ที่มองไม่เห็นด้วย

                  ตาเปล่า  แต่มีพลังในการส่งผลต่อความรุนแรงทางกายภาพได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันเมื่อ
                  เกิดความรุนแรงทางกายภาพแล้ว สามารถส่งผลให้เกิดการล้างแค้นเอาคืน น าไปสู่ความรุนแรง
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139