Page 139 - 22825_Fulltext
P. 139

3-2








                                         ตารางที่ 3.1 แสดงการแบ่งระดับข้อมูลตาม Percentile
                            คะแนนที่ได้                       รายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนน

                                1           ค่าดัชนีที่คำนวณแบบ Z-Score โดยมีค่าอยู่ในช่วง Percentile 0 – 20
                                2           ค่าดัชนีที่คำนวณแบบ Z-Score โดยมีค่าอยู่ในช่วง Percentile 20 – 40

                                3           ค่าดัชนีที่คำนวณแบบ Z-Score โดยมีค่าอยู่ในช่วง Percentile 40 – 60
                                4           ค่าดัชนีที่คำนวณแบบ Z-Score โดยมีค่าอยู่ในช่วง Percentile 60 – 80
                                5           ค่าดัชนีที่คำนวณแบบ Z-Score โดยมีค่าอยู่ในช่วง  Percentile 80 – 100

                       ที่มา: คณะผู้ศึกษา


                              3.1.2 การจัดกลุ่มของข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Principal Component
                       Analysis: PCA)

                              ในกรณีที่มีข้อมูลหลายตัวที่เกี่ยวข้องกัน  ก่อนการจัดทำดัชนี จะต้องมีการจัดกลุ่มของข้อมูล

                       โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Principal Component Analysis: PCA)  ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ใน
                       การกำหนดน้ำหนักขององค์ประกอบ (Factor loading) เพื่อจัดกลุ่มตัวแปรหลายตัวให้อยู่ใน

                       องค์ประกอบ โดยที่จำนวนองค์ประกอบน้อยกว่าจำนวนตัวแปรเดิม (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557) ให้กับตัว

                       แปรแต่ละตัวที่ใช้ในการสร้างดัชนีย่อย
                              ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิเคราะห์องค์ประกอบ คือ ตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ต้องอยู่ในมาตรา

                       อันตรภาคเป็นอย่างน้อย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ร้อยละของความแปรปรวนสะสม

                       ขององค์ประกอบที่สกัดได้รวมกันต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และค่าความร่วมกัน (Communality) [1]
                       ของตัวแปรสังเกตไม่ควรน้อยกว่า 0.5 นอกจากนั้นจำเป็นต้องการทดสอบความเป็นไปได้

                       ในการวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่า Kalser-Meyer-Olkin measure of sampling adequacy ซึ่งใช้

                       พิจารณาว่าข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นมีความเหมาะสมในการวิเคราะห์ปัจจัยหรือไม่ พิจารณาจากค่า
                       Kalser-Meyer-Olkin measure of sampling adequacy ที่ต้องมากกว่า 0.5

                              นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สถิติค่า Bartlett’s test of sphericity เพื่อทดสอบความสัมพันธ์

                       ของตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์หรือไม่ โดยพิจารณาจากค่าความสัมพันธ์ในตาราง Correlation matrix
                       โดยมีสมมติฐานดังต่อไปนี้



                                             H 0  :ตัวแปรในองค์ประกอบไม่มีความสัมพันธ์กัน

                                             H 1  :ตัวแปรในองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กัน


                       [1]  ผลบวกกำลังสองของน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) ของตัวแปรตัวหนึ่งๆ ในทุกปัจจัยที่สังเกตได้
                       เรียกว่า communality (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2551)
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144