Page 140 - 22825_Fulltext
P. 140

3-3








                              โดยที่ข้อมูลเหมาะสมต่อการวิเคราะห์ การทดสอบดังกล่าวต้องมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ
                       เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น ขั้นตอนต่อไปจะวิเคราะห์หาน้ำหนักขององค์ประกอบ (Factor loading)

                       จากการสร้างเมตริกซ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation matrix)  การสกัดปัจจัย (Factor

                       extraction) การหมุนแกนปัจจัย (Factor Rotation) และการหาค่าคะแนนปัจจัย (Factor Scores)
                       ซึ่งเป็นไปตามสมการ



                                                       n
                                                 F =  j  w x =  ji i  w x +  j 11  w x +  j 2 2  ... w x+  jn n
                                                      i= 1


                              โดยที่   F คือ คะแนนองค์ประกอบที่  j
                                       j
                                     w คือ น้ำหนักองค์ประกอบที่  j  ของตัวแปรที่ i  (Factor loading)
                                       ji
                                     และ  x  คือ ค่าของตัวแปรสังเกตที่  i โดยผลบวกกำลังสองของค่าน้ำหนัก
                                           i
                       องค์ประกอบของแต่ละตัวทุกตัวในองค์ประกอบ เรียกว่า ค่าไอเกิน (Eigen value) โดยเลือกเฉพาะ

                       องค์ประกอบที่มีค่าไอเกินสูงสุดเท่านั้น เพื่อสร้างคะแนนองค์ประกอบ ในทีนี้คือดัชนีย่อย

                              จากนั้นปรับโครงสร้างข้อมูลให้ปลอดจากหน่วยนับ (Unit Free)  โดยจุดเด่นของวิธีการนี้ คือ
                       สามารถลดมิติของข้อมูลให้น้อยลง โดยจัดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาให้เป็นกลุ่มตัวแปร  แต่ยังสามารถรักษา

                       โครงสร้างเดิมของข้อมูลเอาไว้  และด้วยตัววิธีการเอง  ยังช่วยให้สามารถให้น้ำหนักกับปัจจัยแต่ละตัวได้ว่า

                       มีความสำคัญต่อผลในภาพรวมระดับใด  โดยพิจารณาจากการกระจายตัวของข้อมูลที่มีอยู่ อย่างไรก็
                       ตาม วิธีการนี้ก็มีข้อจำกัด 3 ประการ ดังนี้

                              (1) การวิเคราะห์ด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องมีข้อมูลจำนวนมาก  อย่างน้อยไม่น้อยกว่า 200 ตัวอย่าง

                       การศึกษาครั้งนี้  มีข้อมูลเกินกว่าข้อมูลขั้นต่ำที่กำหนด  ประเด็นนี้จึงไม่ใช่ข้อจำกัด
                              (2) การประมาณค่าด้วยวิธีนี้มีความอ่อนไหวต่อข้อมูลที่มีค่าสูงมากหรือต่ำมากกว่าปกติ

                       (Outlier)  อย่างไรก็ตาม  ในการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลที่ได้มามี 2 ประเภทด้วยกัน คือ ข้อมูลจำนวน

                       ข้อมูลร้อยละ และข้อมูลที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นคะแนนระหว่าง 1 ถึง 5 จึงไม่มีปัญหาเรื่องข้อมูลที่มีค่า
                       สูงหรือต่ำมากกว่าปกติ

                              และ (3) ค่าสัมประสิทธิ์ที่ได้ซึ่งใช้กำหนดค่าน้ำหนักของผลรวมไม่ได้เป็นค่าที่สะท้อนระดับ

                       อิทธิพลที่แท้จริงของตัวแปรนั้นที่มีต่อเรื่องที่ต้องการประเมิน  ประเด็นนี้เป็นข้อจำกัดของการศึกษา
                       ครั้งนี้  อย่างไรก็ตาม  การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ต้องการหาระดับอิทธิพลของปัจจัย  แต่เป็นการสร้างดัชนี

                       ข้อจำกัดนี้จึงไม่ได้เป็นประเด็นสำหรับการศึกษาในครั้งนี้
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145