Page 143 - 22825_Fulltext
P. 143

3-6








                              จากรูปที่ 3.1 จะเห็นว่าเมื่อใช้ Singh-Maddala Distribution ในการสร้าง pdf ของดัชนี จะ
                       ได้ดังรูป โดยจะแบ่งช่วง PDF ของดัชนีออกเป็น 5 กลุ่ม โดยเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศ  กลุ่มที่มีค่า

                       ในพื้นที่สีเขียว และสีเขียวแก่ จะเป็นกลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของปัญหาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

                       กลุ่มสีเหลืองมีระดับความรุนแรงของปัญหาใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศ และกลุ่มสีส้มและสีแดง
                       มีระดับความรุนแรงของปัญหาสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ



                       3.3 การประมาณค่าข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เป็นปัจจุบัน
                              เนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้ได้นำข้อมูลจากหลายแหล่ง ข้อมูลจากบางแหล่งยังไม่เป็นปัจจุบัน

                       จึงต้องนำเอาข้อมูลในอดีตมาใช้ในการประมาณค่าอนุกรมเวลาโดยใช้แบบจำลองอัตสหสัมพันธ์อันดับ

                       ที่ 1 (Autoregressive order 1: AR(1))


                                                        y =     +  y   +
                                                         t   0   1 t− 1  t

                              โดยที่    มีการแจกแจงแบบ white noise ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 และความแปรปรวนคงที่
                                     t
                       เช่น ข้อมูล Terrorist Index ที่มีอยู่เป็นของปี 2559 จึงไม่สามารถนำมาใช้สร้างดัชนีในปี 2560 ได้

                       โดยตรง ต้องมีการประมาณค่าโดยอ้างอิงจากตัวเลขในอดีตโดยใช้ข้อมูลของปี 2557-2559 (3 ปี) มา
                       สร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์ข้อมูลในปี  2560  โดยจะต้องพยากรณ์ข้อมูลของทุกประเทศแล้วจึง

                       นำเอาค่าพยากรณ์ของทุกประเทศมาจัดอันดับใหม่ตาม  Percentile  เพื่อให้คะแนนตามเกณฑ์ที่

                       กำหนดไว้


                       3.4 การคำนวณดัชนีในภาพรวม

                              แนวทางในการวิเคราะห์ผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมจะทำตามข้อเสนอแนะของ
                       UN (2011)  และ UNDP (2012) ที่ระบุให้เริ่มต้นการวิเคราะห์ด้วยการค่าน้ำหนักของแต่ละดัชนีย่อย

                       จากวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ จากนั้นให้วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อน

                       จะนำเอาผลที่ได้มาสร้างเป็นดัชนีประกอบ (Composite Index) ในแต่ละด้านให้ครบทั้ง 4 ด้าน โดย
                       ใช้สูตร
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148