Page 146 - 22825_Fulltext
P. 146
4-1
บทที่ 4
ผลการศึกษาในภาพรวมระดับประเทศ
ผลการศึกษาโครงการพัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย ซึ่งผลการ
เปรียบเทียบดัชนีตัวชี้วัดสันติภาพใน ปี 2562 และปี 2564 โดยแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 4 ด้าน
คือ การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม การยอมรับความ
หลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน และมีความเหลื่อมล้้าในสังคมน้อยและมี
การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม โดยมีตัวชี้วัดย่อยทั้งสิ้น 34 ตัวชี้วัด โดยข้อมูลที่น้ามาใช้ มีทั้งข้อมูล
ทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการส้ารวจทั่วประเทศ จะแสดงข้อมูลในภาพรวม
ระดับประเทศ ประกอบด้วย 4 ส่วนดังนี้
4.1 ผลการค้านวณค่าดัชนี P1.ไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ
4.2 ผลการค้านวณค่าดัชนี P2.ความปลอดภัยและความมั่งคงในสังคม
4.3 ผลการค้านวณค่าดัชนี P3.การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพ
สิทธิมนุษยชน
4.4 ผลการค้านวณค่าดัชนี P4.มีความเหลื่อมล้้าในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
4.5 สรุปการค้านวณค่าดัชนีในภาพรวมระดับประเทศ
4.1 ผลการค านวณค่าดัชนี P1.ไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ
เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีสันติภาพด้านไม่มีความรุนแรงทางกายภาพระหว่างปี พ.ศ. 2562
กับ พ.ศ. 2564 พบว่า คะแนนดัชนีในภาพรวมของปี 2564 (3.60) มีระดับคะแนนน้อยกว่าดัชนี
สันติภาพกว่าปี 2562 (3.64) ซึ่งในปี 2564 ดัชนีสันติภาพที่มีระดับคะแนนสูงกว่าปี 2562 คือ
จ้านวนของผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งภายในประเทศ (ต่อสู้ภายในประเทศ) ส่วนดัชนีสันติภาพที่มี
ระดับคะแนนน้อยกว่า คือ มุมมองต่อระดับความรุนแรงในประเทศ มุมมองต่อระดับความรุนแรงใน
ชุมชน และมุมมองต่อระดับความรุนแรงในครอบครัว ส่วนผลกระทบของการก่อการร้ายมีระดับคะแนน
สันติภาพไม่เปลี่ยนแปลง ตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 4.1