Page 141 - 22825_Fulltext
P. 141

3-4








                              3.1.3 คำนวณดัชนีด้วยการปรับข้อมูลให้เป็นค่ากลาง (Normalization)
                              มีวิธีการในการสร้างดัชนีอยู่หลายวิธีการ  ซึ่งแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมในสถานการณ์ที่

                       แตกต่างกัน  รายละเอียดของจุดเด่นและข้อจำกัดวิธีการคำนวณดัชนีสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก

                       OECD (2008), Freudenberg (2003) และ Jacob et al., (2004) สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ได้เลือก
                       วิธีการ Min-Max Normalization เพื่อให้ในการคำนวณข้อมูลความเห็นที่มีช่วงคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5

                       ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรต่อไปนี้


                                                             x − min( )x
                                                      I =     i       i
                                                      i
                                                          max( ) min( )x −  x i
                                                                i

                              โดยที่  x  คือ  ค่าประมาณค่าที่ i ของดัชนีตัวที่ i
                                       i
                                     min( )x  คือ  ค่าประมาณต่ำสุดของค่าประมาณค่าที่ i ของดัชนีย่อยตัวที่ i
                                           i
                                     max( )x คือ  ค่าประมาณสูงสุดของ ค่าประมาณค่าที่ i ของดัชนีย่อยตัวที่ i
                                           i
                              การประมาณค่าด้วยวิธีนี้จะทำให้ค่าดัชนีอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยค่าที่ใกล้ 1 หมายถึงดัชนีตัว

                       นั้นมีค่าสูง จุดเด่นของวิธีการนี้คือ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันให้มีความชัดเจนขึ้น
                       ได้กว่าการเทียบค่าเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว เมื่อข้อมูลทุกชุดถูกปรับค่าด้วยวิธีการนี้  ดัชนีย่อยแต่ละตัว

                       ซึ่งเดิมมีหน่วยวัดที่แตกต่างกัน ก็สามารถนำมารวมกันได้โดยไม่ประสบปัญหาของหน่วยนับที่ต่างกัน

                       วิธีการคำนวณเดียวกันนี้  ยังนำมาปรับใช้กับกรณีของข้อมูลสถิติที่เก็บจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยให้  x
                                                                                                         i
                       คือ ค่าสถิติของปีล่าสุดที่ต้องการศึกษา  min( )x  คือ ค่าสถิติต่ำสุดในรอบ 3 ปี และ  max( )x คือ
                                                              i
                                                                                                     i
                       ค่าสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอาจจะเลือกช่วงเวลาที่มากกว่าหรือน้อยกว่า 3 ปี
                       ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และความต่อเนื่องของการเก็บข้อมูล ซึ่งจะต้องพิจารณาความเหมาะสม
                       เป็นรายตัวชี้วัดต่อไป



                       3.2 แนวทางในการจัดทำดัชนีในระดับจังหวัด
                              สำหรับการคำนวณดัชนีที่มีข้อมูลระดับจังหวัดนั้น  เนื่องจากข้อมูลระดับจังหวัดที่จะไม่มี

                       ความต่อเนื่อง เปรียบเสมือนภาพต่อที่ไม่สมบูรณ์ การนำข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่องมากำหนดช่วงคะแนนจะ

                       ทำให้ผลที่ได้มีความคลาดเคลื่อน ด้วยเหตุนี้ ก่อนการทำดัชนีจึงต้องมีการประมาณค่าฟังก์ชันการแจก
                       แจงความน่าจะเป็น (Probability Density Function: pdf) โดยใช้ข้อมูลระดับจังหวัดมาเป็นฐานใน

                       การประมาณค่าเพื่อให้ได้ภาพการกระจายตัวที่สมบูรณ์  แล้วจึงนำค่าที่ได้จากการประมาณการ

                       กระจายตัวดังกล่าวมากำหนดเกณฑ์ในการเลือกระดับคะแนนของดัชนี  โดยวิธีการประมาณค่าที่จะใช้
                       ในการศึกษาครั้งนี้ คือ Singh-Maddala distribution
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146