Page 130 - 22825_Fulltext
P. 130
2-90
การติดป้าย พิมพ์หนังสือ แปะสติ๊กเกอร์ เป็นต้น จ านวน 43 คดี คดีที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นบนโลก
ออนไลน์ จ านวน 90 คดี และยังไม่ทราบสาเหตุ 8 คดี (ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, 2565)
ด้านที่ 4 มีความเหลื่อมล้ าในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม การยอมรับความ
หลากหลาย การไม่เลือกปฏิบัติ การเคารพสิทธิมนุษยชน
1. ความหมายความเหลื่อมล้ าในสังคมและการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
การเข้าถึงทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความความเหลื่อมล้ าที่เกิดขึ้นใน
สังคมไทยในปัจจุบัน ทั้งระดับเล็กไปถึงระดับใหญ่ ซึ่งผลต่อกันและกันเป็นลูกโซ่ เช่น ปัญหาจากระดับเล็กส่งผล
ต่อไประดับกลาง จนถึงระดับใหญ่ ซึ่งความเหลื่อมล้ าจะส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกและการกีดกันโอกาสในการ
แสดงความสามารถ โอกาสในการแสวงหาความรู้และการพัฒนาตัวเองซึ่งน าไปสู่ความเหลื่อมล้ าในการสร้าง
ความก้าวหน้า รายได้ของตัวบุคคล เพื่อแก้ปัญหานั้น มนุษย์ส่วนใหญ่จึงต้องท างานเพื่อหารายได้ แต่ทว่าการ
ท างานในองค์กรกลับสร้างความเหลื่อมล้ า (วิชัย อุตสาหกิจ ,จุฑามาศ แก้วพิจิตร : 2556) ซึ่งการกระจาย
ทรัพยากรต้องกระจายแบบเป็นธรรม ในความหมายของความเป็นธรรม หมายถึง การที่ทรัพยากรที่มีหรือมีการ
รวบรวมจากวิถีการแบ่งปันเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยผ่านกระบวนการต่างๆ ทั้งกฎหมาย หรือด้วย
ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ไม่ทอดทิ้งกันทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่ (พชเดช ปินประทีป : 2562) ซึ่ง
มองการกระจายอย่างเป็นธรรมควรเริ่มตั้งแต่การเข้าถึงการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสาธารณู
โภค และระบบการศึกษา ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นตัวแปรที่สามารถน าไปสู่การเหลื่อมล้ า อาทิ ความเหลื่อมล้ า
ด้านรายได้ ความเหลื่อมด้านที่ดิน ความเหลื่อมล้ าด้านที่ดิน ซึ่งความเหลื่อมล้ ามีระดับที่มากอาจจะท าให้สังคม
เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมมากยิ่งขึ้นช่องว่างก็ของคนมีรายได้มากกับรายได้น้อยมีช่องว่างที่ห่างกันมาก
ขึ้นต่อไป
ถ้าจะกล่าวถึงความเหลื่อมล้ าในสังคมไทย ความเหลื่อมล้ า หมายถึง ความไม่เทียมกันระหว่างผู้มี
โอกาสและผู้ที่ขาดโอกาสซึ่งในโอกาสในที่นี้คือ โอกาสในการเข้าถึงการต่อรองและจัดการทรัพยากรต่างๆ ใน
สังคม เพราะความเหลื่อมล้ าส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรือความไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่เกิด จึงก่อให้เกิด
ความเหลื่อมล้ าตามมา (อติวิชญ์ แสงสุวรรณ , 2558) ซึ่งมุมมองเหลื่อมล้ าในสังคมสามารถอธิบายได้
หลากหลายมิติ อาทิ ความเหลื่อมด้านเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ าด้านสังคม ความเหลื่อมล้ าด้านวัฒนธรรม
ความเหลื่อมล้ าด้านการเมือง ความเหลื่อมล้ าด้านสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ าเชิงพื้นที่ และความเหลื่อมล้ าทาง
ความรู้ รวมถึง ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้มีกาสกับผู้ที่ขาดโอกาส ซึ่งโอกาสเหล่านี้คือโอกาสในการเข้าถึง
ต่อรอง และจัดการทรัพยากรต่างๆในสังคม เป็นต้น (ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา : 2561) บางแง่มุมกล่าวว่าความ
เหลื่อมล้ าคือ ความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบท ระหว่างภูมิภาค ระหว่างกรุงเทพมหานคร เมืองใหญ่และ
เมืองรอง ความแตกต่างของคนชายขอบ ในแง่มุมภูมิเศรษศาสตร์ เช่น ตามชายแดน บนเขาสูงระบบคมนาคม
เข้าถึงยาก ท าให้ภาครัฐไม่สามารถดูแลได้อย่างครอบคลุม ในทางสังคมความเป็นจริงคนกลุ่ม คนชนเผ่า
แรงงานต่างด้าว คนพิการ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีสถานะทางสังคมด้อยกว่าคนทั่วไป (วินิจ ผา
เจริญ : 2564)