Page 127 - 22825_Fulltext
P. 127

2-87



                  นั้นหลายครั้ง เนื่องจากการหาหลักฐานเป็นไปได้ยากและในทางกฎหมายไม่ได้ระบุว่า การอุ้มหายเป็น
                  อาชญากรรม ต ารวจจึงไม่ค้นหาหรือด าเนินคดีเพราะไม่มีกฎหมายรองรับ (วจนา วรรลยางกูร, 2561) ยกตัวอย่าง
                  รายบุคคล ดังนี้

                             พอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่) สูญหายเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 พบว่า เสียชีวิต ซึ่งบิลลี่
                  ก่อนหายตัวไปเขาเป็นแกนน าชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินท ากิน พยานปากส าคัญในคดี
                  เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เข้ารื้อ ท าลาย และเผาหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง การหาย

                  ตัวของบิลลี่โดยพยานที่เห็นเขาครั้งสุดท้าย กล่าวว่า พบเห็นครั้งสุดท้ายอยู่กับอดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่ง
                  กระจานรายหนึ่ง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เปิดเผยข้อมูลว่าพบกระดูกของ
                  บิลลี่ในถังน้ ามันจมน้ าอยู่ที่ใต้สะพานแขวนในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยเขาถูกฆ่าและเผาอ าพราง
                  (Pongpiphat Banchanont , 2562) ในการค้นพบหลักฐานนั้นเป็นกะโหลกมนุษย์ที่เกิดจากการเผาท าลาย
                  จากตรวจสอบสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) พบว่าตรงกับแม่ของบิลลี่ จึงยืนยันได้ว่ากะโหลกศีรษะที่พบเป็นของบิล

                  ลี่ และเสียชีวิตจากเหตุฆาตกรรม น าไปสู่การออกหมายจับ นายชัยวัฒน์และพวกรวม 4 คน ฐานร่วมกันฆ่า
                  อย่างไรก็ตาม อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยให้
                  เหตุผลว่า ไม่มีประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมเพียงพอที่จะเชื่อมโยงว่า ผู้ต้องหาทั้ง 4 ได้ร่วมกันกระท าผิด

                  สุดท้ายแล้วการเสียชีวิตของบิลลี่ยังคงไม่สามารถจับตัวผู้กระท าความผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม
                  ทางอาญาได้ (จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา, 2563) แม้ว่าคดีดังกล่าวจะเป็นคดีที่ประชาชนให้ความน่าสนใจมากก็ตาม
                             สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ สูญหายกลางเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 หรือสุรชัย แซ่ด่าน นัก
                  เคลื่อนไหวทางการเมือง และนักโทษการเมืองคดีคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของประเทศไทย ได้ลี้ภัยไปอยู่ในลาว

                  หลัง คสช.ท าการรัฐประหาร ราวกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 เขาหายตัวไปพร้อมกับผู้ติดตามอีก 2 คน จน
                  ในเวลาต่อมาของช่วงต้นปี 2562 พบศพลอยมาในแม่น้ าโขง บริเวณ จ. นครพนม ตามผลพิสูจน์ DNA ยืนยันว่า
                  เป็นคนติดตามของสุรชัย แซ่ด่าน ซึ่งถูกฆ่าผ่าท้องแล้วยัดกับเสาปูน ส่วนตัวสุรชัยเองยังไม่ทราบชะตากรรม
                  (Pongpiphat Banchanont, 2562)

                             ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ หรือลุงสนามหลวง นักจัดรายการวิทยุใต้ดิน แกนน ากลุ่มสหพันธรัฐไท มีประวัติ
                  การต่อสู้ทางการเมืองยาวนาน เป็นที่รู้จักในหมู่ ‘สหายเก่า’ และประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหารปี พ.ศ. 2549
                  ซึ่งเคยถูกออกหมายจับในเดือน สิงหาคม 2551 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ คาดว่าเขา
                  เดินทางออกนอกประเทศนับตั้งแต่นั้น ลุงสนามหลวงเคยประกาศยุติการจัดรายการในเดือน มกราคม 2562

                  หลังการหายตัวไปของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และผู้ลี้ภัยอีกสองคน ต่อมา มีข่าวว่าชูชีพถูกจับกุมตัวใน
                  เวียดนามและถูกส่งตัวกลับไทยพร้อมกับผู้ลี้ภัยอีกสองคน คือ สยาม ธีรวุฒิ หรือสหายข้าวเหนียวมะม่วง
                  และกฤษณะ ทัพไทย หรือสหายยังบลัด เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 แม้วว่าครอบครัวจะพยายามทวงถามถึง
                  ชะตากรรมแต่ได้ค าตอบไม่ อย่างไรก็ตาม ทางการเวียดนามปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศ หรือการ

                  จับกุมตัวทั้ง 3 คน ขณะที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการต ารวจแห่งชาติ กล่าวว่า ยังไม่มี
                  การจับกุมตัวลุงสนามหลวง รวมถึงไม่พบหลักฐานการเข้าออกประเทศจากทางส านักงานตรวจคนเข้าเมือง และ
                  ไม่ได้รับการประสานจากประเทศเพื่อนบ้านเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (Pongpiphat Banchanont, 2562)
                             จากรายชื่อดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แม้จะลงนามใน

                  อนุสัญญาต่าง ๆ แต่ไม่สามารถน าผู้กระท าความผิดมารับโทษได้ และไม่สามารถตัดสินว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้า
                  รัฐ เนื่องจากไม่มีหลักฐานหรือทราบตัวผู้กระท าความผิด แต่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ารายชื่อเหล่านี้มีส่วน
                  เกี่ยวข้องกับรัฐบาล

                             8) จ านวนผู้ถูกกักขังที่รอการพิพากษาในสัดส่วนของประชากรในเรือนจ า
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132