Page 124 - 22825_Fulltext
P. 124
2-84
และต่อเนื่อง หลักการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยตามหลักการทางศาสนาและ
หลักสิทธิมนุษยชน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือหลักการอยู่ร่วมกันของแต่ละศาสนาแม้จะมีลักษณะเฉพาะของ
ค าสอนที่แตกต่างกันแต่มีหลักการที่ใกล้เคียงกัน เช่น หลักศีล 5 ในพระพุทธศาสนา บัญญัติ 10 ประการใน
ศาสนาคริสต์ หลักศรัทธา 6 ประการในศาสนาอิสลาม เป็นต้น ขณะที่มีผลการวิจัยสอดคล้องกัน คือการอยู่
ร่วมกันอย่างสันติ การปฏิบัติตามหลักธรรมค าสั่งสอนของในศาสนาของตนเอง การเคารพในสิทธิเสรีภาพของ
กันและกัน และการมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ระหว่างคนในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิ
มนุษยชนที่เน้นการเคารพในสิทธิและเสรีภาพของกันและกัน ในฐานะที่ทุกคนเป็นมนุษย์ด้วยกันโดยทุกคนใน
สังคมต้องให้ความส าคัญต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และพลเมืองตามที่บัญญัติไว้ใน
กฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศประเด็นสุดท้ายหลักการและวิธีการอยู่ร่วมกันของคนใน
สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยกับการสร้างมั่นคงทางสังคม จึงตั้งอยู่บนแนวทางที่พึงประสงค์ส าหรับการ
อยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย คือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
การอยู่ร่วมกัน มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่คน องค์กร และส่วนร่วมใน
สังคม โดยค านึงถึงความสงบสุขของประเทศชาติเป็นส าคัญ (ยุทธนา นรเชฏฺโฐ และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์,
2562) สอดคล้องกับการศึกษาของ อุดร หลักทอง (2558) พบว่า ลักษณะเฉพาะของชุมชนพหุวัฒนธรรมมี
ลักษณะเฉพาะด้านการนับถือศาสนา และความเชื่อในลัทธิต่าง ๆ ได้แก่ ชุมชนกุฎีจัน (คริสต์) ชุมชนวัด
กัลยาณมิตร ( พุทธและลัทธิขงจื้อ ) และชุมชนกุฎีขาว (อิสลาม) ลักษณะความเป็นพหุวัฒนธรรมในชุมชนทั้ง 3
ชุมชน คือ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนวัดกัลยาณมิตรและชุมชนกุฎีขาว เป็นชุมชนที่ก่อเกิดจากการรวมของคนที่มีเชื้อ
ชาติ ศาสนา และความเชื่อที่แตกต่างกันและอพยพมาตั้งรกรากในย่านเดียวกันได้แก่ ไทย แขก จีน ฝรั่ง ญวน
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนทั้ง 3 ชุมชน มีศาสนาและความเชื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีศาสนสถานเป็น
ศูนย์กลางของชุมชน ประกอบกับศาสนกิจที่ท าให้คนในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กัน จึงท าให้มีการพูดคุย
ปรึกษาหารือในเรื่องต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการฟื้นฟูและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชนทั้ง 3 ชุมชน มีการรักษาไว้
ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ รวบรวมขนบธรรมเนียมประเพณีเป็น
แนวทางในการสร้างกิจกรรมให้เยาวชนมีส่วนร่วมสืบทอดภูมิปัญญา และประเพณีของชุมชนต่อไป ในการใช้
สิทธิชุมชนและข้อบัญญัติชุมชน ทั้ง 3 ชุมชน ไม่มีการก าหนด กฎ กติกาหรือบัญญัติของชุมชน โดยแสดงให้เห็น
ว่า คนในชุมชนย่านนี้ อยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ จึงไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องก าหนดกฎกติกาขึ้นมาบังคับใช้กับ
คนในชุมชน คนในชุมชนยึดหลักความเชื่อในแต่ละศาสนาเป็นแนวทางในการด าเนินชีวิต (อุดร หลักทอง,
2558)
จากมุมมองด้านพหุวัฒนธรรมที่กล่าวมาข้างต้น คณะรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความ
มั่นคง ด้านศาสนาและวัฒนธรรม ควรมีนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนการอยู่ร่วมกันของในสังคมพหุ
วัฒนธรรมในประเทศไทยอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โดยเฉพาะนโยบายด้านความมั่นคงและศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม ควรมีความชัดเจนในการสนับสนุนส่งเสริมทั้งยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแนวทางการด าเนินงาน
ที่ชัดเจน เพื่อให้คนหรือชุมชนที่มีความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ลด
ความหวาดระแวง ความไม่ไว้วางใจ และการแทรกแซงระหว่างกัน (ยุทธนา นรเชฏฺโฐ และจุฑารัตน์ ทองอิน
จันทร์, 2562) ควรมีนโยบายเกี่ยวกับส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งก าหนดกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพผู้น าชุมชน มีการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการบริหารจัดการภายใน
ชุมชน และการจัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนให้แก่ผู้น าชุมชน เพื่อเป็นขวัญและก าลังใจ รวมถึงผลักดัน
รูปแบบการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดแก่ผู้น าชุมชน และประชาชน การพัฒนาชุมชนควรลงพื้นที่อย่าง
ต่อเนื่องเพื่อติดตามสถานการณ์ในชุมชนที่รับผิดชอบ สร้างความใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนมากขึ้น