Page 121 - 22825_Fulltext
P. 121
2-81
คือ รูปลักษณ์ภายนอก สถานะทางการงาน ระดับการศึกษา อายุ เพศ ภาษา ศาสนา ความเป็นกลุ่มชาติพันธ์
ความทุพพลภาพ จุดยืนทางอุดมการณ์หรือการเมือง สีผิว และสัญชาติ ตามล าดับ (สถาบันพระปกเกล้า และ
ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2562) สอดคล้องกับงานของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่พบว่า การเลือกปฏิบัติใน
เด็กสามารถมองได้ 2 มิติ คือ มิติแรก การเลือกปฏิบัติต่อเด็ก ด้วยวัยที่เป็นเด็ก มิติที่สอง การเลือกปฏิบัติต่อ
เด็กหรือการปฏิบัติต่อเด็กทุกคนไม่เท่าเทียมกันเนื่องด้วยความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ความพิการ สถานะ
ทางเศรษฐกิจและสังคม หรือสถานภาพทางกฎหมาย ทั้งสองมิติสามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุ 3 ประการ คือ 1)
อคติที่มีต่อความเป็นเด็ก และอคติที่มีต่อกลุ่มเด็กบางกลุ่ม 2) ความสัมพันธ์ทางอ านาจที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่
ละครอบครัว และ 3) เด็กเป็นกลุ่มที่ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมือง (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2556)
จากปัญหาข้างต้น ภาครัฐควรให้ความส าคัญกับเรื่องการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติเพื่อเป็น
หลักประกันสิทธิของประชาชน โดยการบัญญัติให้การเลือกปฏิบัติเป็นความผิดทางอาญา เพื่อเป็นการป้องกันมิ
ให้มีการกระท าการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลอื่นเพราะเหตุพื้นฐานทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ ฯลฯ ( คณาธิป
ทองรวีวงศ์ และคณะ, 2560) (ชนกานต์ สังสีแก้ว, 2560) ท าให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองเรื่องสิทธิ
มนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และได้รับความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันท าให้ประชาชนตระหนักถึง
คุณค่าในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และป้องกันผู้อื่นมิให้ถูกเลือกปฏิบัติ รวมทั้งควรมีการบัญญัติกฎหมายให้
รองรับกับอนุสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีไว้ ท าให้ประเทศไทยมีกฎหมาย
ที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชาชนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้มีกฎหมายเป็นการลงโทษ
เชิงสัญลักษณ์ เป็นการแสดงออกว่าสังคมไทยไม่ยอมรับพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติเพราะสาเหตุของความ
แตกต่างที่เกิดขึ้น และเห็นว่าการเลือกปฏิบัติเป็นการกระท าที่สมควรถูกลงโทษ (ชนกานต์ สังสีแก้ว, 2560)
3) มุมมองต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
ส าหรับมุมมองต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง พบว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ของบุคคลตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเสรีภาพที่ไม่ได้รับรองอย่างสมบูรณ์หมายความว่า แม้
ส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีกฎหมายรองรับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไว้ในกฎหมาย
ระดับรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม หากแต่การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้กฎหมายนั้นก็จ าต้องอยู่
ภายใต้เงื่อนไขหรือข้อจ ากัดการใช้เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญก าหนด อีกทั้งหากประชาชนใช้เสรีภาพในการแสดง
ความคิดเห็นเกินกว่าขอบเขตหรือข้อจ ากัดที่กฎหมายก าหนด การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว
ไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นการใช้เสรีภาพที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ประกอบกับภายใต้หลักสูงสุดของ
รัฐธรรมนูญที่ส่งผลให้บทบัญญัติของกฎหมายจะมีเนื้อหาขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้เพราะฉะนั้น การพิจารณา
ขอบเขตการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนต้องพิจารณาจากกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง
ประกอบกันเพื่อค้นหาขอบเขตการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนว่าสอดคล้องกับหลักการ
ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยพบว่า กฎหมายหลายฉบับยังคงมีลักษณะของการให้อ านาจแก่รัฐในการรุกล้ า
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเกินสมควร ทั้งยังมีการก าหนดกระบวนการตรวจสอบ
ความชอบด้วยกฎหมายของการกระท าของเจ้าหน้าที่มีผลเป็นการรุกล้ าเสรีภาพของประชาชน
ที่แตกต่างจากที่รัฐธรรมนูญก าหนด ส่งผลให้ประชาชนขาดหลักประกันที่ชัดเจนในการใช้เสรีภาพดังกล่าวอย่าง
แท้จริง และขัดแย้งกับหลักการในการจ ากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งที่ปรากฏใน
เอกสารระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สอดคล้องกับ ศักดิ์สิน อุดมวิทยไพศาล
และคณะ (2562) พบว่า พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ด้านสังเกตการณ์ทางการเมือง
ระดับการเกิดเพียงแค่ทราบ แค่รู้ ดู เห็น ความเป็นไปทางการเมือง น าไปสู่ความสนใจทางการเมือง
ในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เริ่มจากการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การติดต่อกับการเมือง ซึ่งจะ