Page 120 - 22825_Fulltext
P. 120
2-80
ประสิทธิภาพในการท างานขององค์กรซึ่งท าหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทาง
เพศ (อารยา สุขสม, 2559)
2)มุมมองต่อการเลือกปฏิบัติในการใช้บริการภาครัฐ
การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในบริบทของคดีปกครอง (มาตรา 9 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542) มีขอบเขตและลักษณะที่แตกต่างจาก “การเลือกปฏิบัติ”ใน
บริบทของกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามกฎหมายปกครองนั้น เป็น
การพิจารณา “การปฏิบัติที่แตกต่างกัน” ในกรอบของการตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐโดยมิชอบ และมักมี
ข้อเท็จจริงที่สัมพันธ์กับ “การใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยมิชอบ” จึงอาจครอบคลุมถึงการปฏิบัติแตกต่าง
กันโดยไม่เป็นธรรม การใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเลือกปฏิบัติ เช่น เชื้อชาติ เพศ
ศาสนา ฯลฯ ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน หรืออาจเรียกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติใน ความหมายที่กว้างกว่า
กฎหมายสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติที่แตกต่างกันจะจัดเป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายระหว่าง
ประเทศ สาเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติครอบคลุม เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการ
เมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือ เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ หรือเรียก
ได้ว่าการเลือกปฏิบัติสามารถเกิดขึ้นในมิติของบุคคลในการด าเนินชีวิต เช่น การท างาน การศึกษา การจ้างงาน
การบริการภาครัฐ การประกอบธุรกิจ การประกอบวิชาชีพ การเป็นสมาชิกองค์กร สินค้าและบริการใน
ภาคเอกชน การประชุมสัมมนา กิจกรรมสาธารณะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามิติของการเลือกปฏิบัติอาจมีความ
เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากปัจจัยทั้งสองประการแล้วจากการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ
และกฎหมายต่างประเทศพบว่า ได้มีการก าหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาว่าการปฏิบัติเป็นเพียงการ
ปฏิบัติที่แตกต่างกันสามารถท าได้ หรือเป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อกฎหมาย โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวมี
ตัวอย่างเช่น หลักขอบแห่งดุลพินิจ (Margin of Appreciation) การชั่งน้ าหนักกับผลประโยชน์อื่น มาตรการ
ยืนยันสิทธิเชิงบวก (Affirmative Action) เป็นต้น ด้วยเหตุนี้มีการน าปัจจัยเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
และมิติแห่งการเลือกปฏิบัติประกอบกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาประกอบกันเป็นกรอบการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน (Distinction / Differentiation) สามารถจ าแนกว่ากรณีใดเป็นกรณีของการ
เลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน และกรณีใดไม่อยู่ในขอบเขตการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิ
มนุษยชน ( คณาธิป ทองรวีวงศ์ และคณะ, 2560) สอดคล้องกับ งานของชนกานต์ สังสีแก้ว (2560) จากศึกษา
กฎหมายของประเทศไทยในส่วนการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
2560 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติความเท่า
เทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 พบว่า กฎหมายดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับที่ครอบคลุมเพียงพอในการหยุดหรือ
ยับยั้งการกระท าความผิด ขาดการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพและยังไม่คุ้มครอง กรณีการเลือกปฏิบัติที่เกิดจาก
การกระท าโดยภาคเอกชน ท าให้มีการเลือกปฏิบัติให้เห็นในสังคมไทยบ่อยครั้ง และหากปล่อยให้มีการเลือก
ปฏิบัติสะสมเป็นเวลานานอาจท าให้เกิดปัญหาจนส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างได้ เช่น ปัญหาการเกิด
อาชญากรรมจากความเกลียดชัง (hate crime) หรืออาจเกิดปัญหาการประท้วงรุนแรงอันส่งผลต่อความมั่นคง
ของประเทศ และปัญหาการเลือกปฏิบัติยังก่อให้เกิดอันตรายต่อประโยชน์ของรัฐ เพราะการเลือกปฏิบัติเป็น
การท าลายหลักความเสมอภาคอันเป็นหลักในการด ารงอยู่ของสังคม ส่งผลให้สังคมขาดความเสมอภาคและ
ความยุติธรรม การก าหนดให้การเลือกปฏิบัติเป็นความผิดทางอาญาอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายในการช่วยยับยั้ง
ไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย (ชนกานต์ สังสีแก้ว, 2560)
ส าหรับมุมมองต่อการเลือกปฏิบัติในการใช้บริการภาครัฐ พบว่า ประชาชนเคยได้รับการปฏิบัติที่
แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย สาเหตุที่ได้รับการเลือกปฏิบัติในบริการเป็นผลมาจากสถานะทางเศรษฐกิจ รองลงมา