Page 115 - 22825_Fulltext
P. 115

2-75



                  ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ …” นอกจากนี้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
                  วัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR) วางหลัก
                  เกี่ยวกับความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่

                  ระบุไว้ในกติกานี้ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ …” ส าหรับกฎหมายไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช 2550 ก าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติครอบคลุม “ถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความ
                  พิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา

                  การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ...” ซึ่งการเลือกปฏิบัติมี
                  ความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับบริบทและมุมมองในการพิจารณา ส าหรับในทางสังคมวิทยา ได้จ าแนกประเภท
                  ของการเลือกปฏิบัติ บนพื้นฐานของทฤษฎีความขัดแย้งเชิงความเป็นจริง (Realistic-Conflict Theory) และ
                  ทฤษฎีตัวตนทางสังคม (Social-Identity Theory) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) การแข่งขันในเชิงรูปธรรม
                  (Realistic Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการได้ทรัพยากรเชิง

                  วัตถุต่าง ๆ ดังนั้น การเลือกปฏิบัติเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลอันเป็นสมาชิกในกลุ่มและตัวบุคคล เพื่อให้
                  ได้มาหรือเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าว 2) การแข่งขันเชิงสังคม (Social Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยความ
                  ต้องการความภาคภูมิใจ (Self-Esteem) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการบรรลุถึงสถานะทางสังคมในเชิงบวกส าหรับ

                  บุคคลในกลุ่ม (The In-Group) เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลนอกกลุ่ม (The Out-Group) และ3) การเลือกปฏิบัติ
                  ด้วยความยินยอม (Consensual Discrimination) ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการความชัดเจน สะท้อนถึง
                  ความมั่นคง ความชอบธรรมของการจัดล าดับชั้นในกลุ่ม  การเลือกปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีผู้ถูกเลือก
                  ปฏิบัติได้รับความเสียหายหรือเป็นฝ่ายไม่ได้รับประโยชน์เท่านั้น แต่ยังคงเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าบุคคลผู้ถูกเลือก

                  ปฏิบัติได้รับผลประโยชน์ก็ตาม (คณาธิป ทองรวีวงศ์ และคณะ, 2560)
                         การบังคับใช้แรงงาน หมายถึง การข่มขืนใจให้ท างานหรือบริการโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะไม่สามารถขัด
                  ขืนได้โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ 1) ท าให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง
                  หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเองหรือของผู้อื่น 2) ขู่เข็ญด้วยประการใด 3) ใช้ก าลังประทุษร้าย 4) ยึดเอกสาร

                  ส าคัญประจ าตัวบุคคลนั้นไว้ 5) น าภาระหนี้ของบุคคลนั้นหรือของผู้อื่นมาเป็นข้อผู้มัดโดยมิชอบ และ6) ท าด้วย
                  ประการอื่นใดอันมีลักษณะคล้ายคลึงกับการกระท าดังกล่าวข้างต้น ถ้าได้กระท าให้ผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่
                  สามารถขัดขืนได้ผู้นั้นกระท าความผิดฐานบังคับใช้แรงงานหรือพิการ (กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน, 2563)
                         การค้ามนุษย์ นิยามโดยพิธีสารเพื่อการป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ (the Protocol

                  to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons) ได้นิยามค าว่า “การค้ามนุษย์” ไว้ดังนี้
                         การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อการจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ ซึ่งบุคคลด้วย
                  วิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้ก าลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใดด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกงด้วย
                  การหลอกลวงด้วยการใช้อ านาจโดยมิชอบหรือ ด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ

                  หรือมีการให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอ านาจควบคุมบุคคลอื่น
                  เพื่อแสวงหาประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น หรือการแสวง
                  ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นการบังคับใช้แรงงานหรือบริการการเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระท าอื่นเสมือน
                  การเอาคนลงเป็นทาส การท าให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย ให้ถือว่าการจัดหา การ

                  ขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงประโยชน์เป็นการค้า
                  มนุษย์ แม้ว่าจะไม่มีการใช้วิธีการใดๆ
                         ส าหรับความหมายของค าว่า “การค้ามนุษย์” ตามกฎหมายนั้น พระราชบัญญัติป้องกันและ

                  ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 6 ยังได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ไว้ดังนี้
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120