Page 114 - 22825_Fulltext
P. 114
2-74
นอกจากนี้ วิษณุ เครืองาม (2563) ได้ให้ค านิยามของสิทธิมนุษยชนไว้ว่า หมายถึง สิทธิของมนุษย์
ซึ่งเมื่อเกิดจะมีสิทธิบางอย่างถือก าเนิดขึ้น มีขึ้น เป็นขึ้น และเป็นอย่างนั้นตลอดไปจนกระทั่งคน ๆ นั้นวาย
ปราณโดยไม่ได้เกี่ยวกับกฎบัตร กฎหมายใดมารองรับ ไม่เกี่ยวว่ากฎหมายจะคุ้มครอง ปกป้อง ขนาดใดเพียงใด
เพราะบุคคลเหล่านั้นมีสิทธินั้นตลอดอยู่แล้ว ไม่ค านึงถึงเพศหญิงหรือชาย ไม่ค านึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ
หรือความแตกต่างใด ๆ ทางกายหรือสถานะทางสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจนประการใด สิ่งที่อาจจะเป็นที่ถกเถียง
กันต่อไปว่าถ้าอย่างนั้นแล้วสิทธิเหล่านั้นมีสิทธิอะไรบ้างและมีขอบเขตเพียงใด แต่ถ้าจะยกตัวอย่างกันโดยไม่ขัด
เขินแล้ว สิทธิมนุษยชนนั้น ได้แก่ สิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการนับถือศาสนา สิทธิ
ในการแสดงความคิดเห็น เมื่อธรรมชาติได้สร้างมนุษย์หรือที่บางคนอาจจะโยงไปถึงพระเจ้าว่าได้ก่อให้เกิดสรีระ
ร่างกายให้เรามีปาก เราจึงมีสิทธิที่จะพูด มีสมองเราจึงมีสิทธิที่จะมีความคิดและเลือกนับถือศาสนามีสองมือ
สองเท้าจึงมีสิทธิในร่างกาย เมื่อท ามาหากินเราจึงมีสิทธิในทรัพย์สิน และสิทธิเหล่านี้รัฐจะต้องคุ้มครองส่งเสริม
ป้องกัน รักษา ขณะเดียวกันเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องออกกฎหมายลูกมาเพื่อขยายความสิทธิมนุษยชน หรือ
ภาษากฎหมายเรียกว่า “เพื่อให้สมดังสิทธิ” ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เพื่อให้สิทธิเหล่านั้นเป็นจริง ไม่ใช่เป็นสิทธิ
ในตัวหนังสือ”
จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิ ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์
ที่มีตามธรรมชาติซึ่งติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด รวมถึงสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการ
รับรองหรือคุ้มครองตามกฎหมายซึ่งมีการรับรองไว้ โดยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาแต่เกิด
จึงมีความเป็นสากลทุกคนมีสิทธินี้และไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้มีความเกี่ยวโยงพึ่งพากัน และมีความเสมอ
ภาคไม่มีการเลือกปฏิบัติ สิทธิมนุษยชนจึงถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ าที่รัฐต้องปฏิบัติตามโดยที่รัฐของแต่ละประเทศ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการเคารพสิทธิ คุ้มครองสิทธิ และท าให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิในขณะที่
ประชาชนมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิของผู้อื่น ปกป้องสิทธิของตนเอง และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน คือ บุคคลทั้งที่กระท าการโดยส่วนตัวหรือโดยการรวมกลุ่มกับบุคคลอื่น เพื่อ
ปกป้องและ/หรือส่งเสริม สิทธิมนุษยชนในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคหรือนานาประเทศ ทั้งนี้โดย
มิได้มีการใช้หรือสนับสนุนการใช้ความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติหรือความรุนแรงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมี
ความหมายสอดคล้องกับปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2541 และมาตรฐานระหว่าง ประเทศ
อื่นๆ (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, 2560)
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีพื้นเพความเป็นมาที่หลากหลาย บางส่วนเป็นผู้สื่อข่าว
นักกฎหมาย ผู้ท างานด้านสาธารณสุข ครู นักสหภาพแรงงาน ผู้เปิดโปงเมื่อมีการกระท า ความผิด เกษตรกร
และผู้เสียหายหรือญาติของผู้เสียหายจากการละเมิดและการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชน การท างานปกป้อง
สิทธิมนุษยชนของพวกเขาอาจเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามวิชาชีพ หรือ อาจเป็นงานที่ท าโดยสมัครใจ หรือ
ท าโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
ทั้งนี้ หลักความเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติเป็นหลักส าคัญของสิทธิมนุษยชน เริ่มตั้งแต่ปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) วางหลักเกี่ยวกับ
ความเสมอภาคไว้ว่า “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโน
ธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ” นอกจากนี้ยังได้วางหลักการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า
“บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่ก าหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใด
ๆ ส าหรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on
Civil and Political Rights หรือ ICCPR) มีการวางหลักเกี่ยวกับความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ว่า
“บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดย