Page 116 - 22825_Fulltext
P. 116
2-76
1) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จ าหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้อยู่ อาศัย
หรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด โดยข่มขู่ ใช้ก าลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อ านาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงิน
หรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่
ผู้กระท าความผิดในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล หรือ
2) เป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จ าหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขังจัดให้อยู่อาศัย
หรือรับไว้ซึ่งเด็กผู้นั้นกระท าความผิดฐานค้ามนุษย์
การแสดงออกทางการเมือง มีความหมายที่คล้ายกันกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองแต่อาจจะมี
ความหมายที่กว้างกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง การที่ประชาชนจะตัดสินใจเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
และรับผิดชอบในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งระบบนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคุณลักษณะภายในด้านบุคคลและกลุ่มคน ซึ่งเป็นการรับรู้ข้อมูลที่
เกิดขึ้นจากภายนอก
การแสดงออกทางการเมือง หมายถึง กระบวนการทางความคิด การตัดสินใจรวมทั้งการกระท าใด ๆ ก็
ตามที่เกิดโดยความเต็มใจของปัจเจกบุคคลที่สื่อถึงการเมือง การเข้าร่วมด าเนินกิจกรรมทางการเมืองการ
ตัดสินใจเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และรับผิดชอบในโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ (พิกุล มีมานะและสนุก
สิงห์มาตร,2560)
การแสดงออกทางการเมืองได้อย่างอิสระ หมายถึง การเปิดกว้างทางมุมมองที่อยู่ในขอบเขตของสิทธิ
ซึ่งสามารถแสดงออกหรือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดหรือความเห็น ทั้งการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสาร
ด้วยอักษร ไม่ว่าจะเขียนลงบนแผ่นกระดาษหรือในโลกออนไลน์ รวมถึงการมีสิทธิในการค้นคว้า เข้าถึง หรือ
ได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ (iLAW Freedom, ม.ป.ป.) โดยการแสดง
ความเห็น ถือเป็นเงื่อนไขส าคัญในการส่งเสริมให้ความเป็นมนุษย์นั้นสมบูรณ์ และถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ขาด
ไม่ได้ในสังคม ประกอบกับเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของสังคมเสรีประชาธิปไตย ซึ่งการแสดงความเห็นอย่าง
เสรีภาพจะน าไปสู่การพัฒนาทางสังคม ที่ถือว่าเป็นกลไกส าคัญในการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและความ
รับผิดชอบ ท้ายที่สุดจะน ามาซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนรวมถึงคนในสังคมส่วนรวม (ศิริพล
กุศลศิลป์วุฒิ, 2558) และเมื่อปัจเจกบุคคลมีความเข้มข้นต่อการเมืองจะน าไปสู่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
(Political participation) นั่นก็คือ การกระท าด้วยความเต็มใจแม้ว่าจะส าเร็จหรือไม่เสร็จก็ตาม โดยใช้วิธีการ
ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เพื่อต้องการให้มีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายของรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่น
หรือระดับชาติ โดยมีอิทธิพลกับกลุ่มการเมืองในการเลือกก าหนดบุคคลของวงการรัฐบาล หรือกดดันรัฐบาลให้
กระท าตามที่ตนต้องการ ซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ต้องเป็นไปตามความสมัครใจ
และมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีอ านาจ (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2561)
ทว่า หากรัฐบาลด าเนินนโยบายบางประการแต่ส่งผลกระทบต่อคนในสังคมเป็นจ านวนมากจะส่งผลให้เกิดการ
เรียกร้องต่อรัฐบาล จนน าไปสู่การชุมนุม ซึ่งเป็นวิธีการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่าง
เป็นทางการ ให้ความส าคัญในระบอบประชาธิปไตย การชุมนุมจึงเป็นการรวมตัวกันของบุคคลเพียงชั่วคราวใน
ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีการเตรียมการล่วงหน้าเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือปกป้องผลประโยชน์
ร่วมกัน (อุษณีย์ เอมศิรานันท์, 2557) ขณะที่การรวมกลุ่ม หมายถึง การรวบรวมกลุ่มของคนในสังคมที่มีความ
หลากหลายให้ด าเนินชีวิตร่วมกันตามรสนิยมและพฤติกรรม อันเป็นการรวมตัวกันของผู้คนที่มีเป้าหมายและ
เกิดขึ้นจากความสมัครใจรวมกันของปัจเจกบุคคล ทั้งนี้ การรวมกลุ่มก่อให้เกิดความกดดันทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม เช่น การจัดการชุมนุมสาธารณะ เป็นต้น (ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์, 2552) โดยเป็นพฤติกรรมการแสดงออก
ทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย ประกอบไปด้วย การสนับสนุนทางการเมือง การเรียกร้องทางการเมือง หรือ