Page 122 - 22825_Fulltext
P. 122
2-82
น า ไ ป สู่ก า ร เ ข้า เ ป็น หุ้น ส่ว น ท า ง ก า ร เ มือ ง เ ช่น ส มัค ร ผู้แ ท น โ ด ย พ ฤ ติก ร ร ม
ทางการเมืองจะขึ้นอยู่กับความชอบและความสนใจที่แตกต่างกัน (ศักดิ์สิน อุดมวิทยไพศาล และ
คณะ, 2562) จากปัญหามุมมองต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองข้างต้น ควรมีการยกเลิก
ประกาศ ค าสั่งและค าสั่งหัวหน้า คสช. เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ให้อ านาจแก่ คสช. ในการละเมิด
สิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งประชาชนสามารถท าได้ด้วยการ
ร่วมกัน ลงชื่อเข้าร่วมเสนอกฎหมายยกเลิกประกาศค าสั่ง และค าสั่งหัวหน้า คสช. และหากประเทศ
อยู่ในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรมีการส่งเสริมการสร้างความรู้ ความเข้าใจรวมถึงความตระหนักใน
ประเด็นเรื่องสิทธิและเสรีภาพให้แก่คนในสังคม ซึ่งอาจท าได้ด้วยการ “ผลิตสื่อ” หากคนในสังคม
มีความตระหนักในประเด็นนี้อย่างจริงจัง อาจน ามาซึ่งการแก้ไขปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ
มนุษยชน และการจ ากัดเสรีภาพในการแสดงออกของประเทศไทย (ชนกนันท์ เสรีธรรมาชน, 2561) รวมถึงการ
แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น ห รื อ อ อ ก ม า เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ท า ง ก า ร เ มื อ ง เ ห็ น ไ ด้ จ า ก ตั ว อ ย่ า ง
จากผู้แสดงออกถูกด าเนินคดีจ านวนมาก ในแง่นี้การด าเนินคดีในยุคของ คสช. จึงมีลักษณะ
ที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้การด าเนินคดีเพื่อปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน ระงับการวิพากษ์วิจารณ์หรือการ
เคลื่อนไหวมีส่วนร่วมของประชาชนต่อรัฐบาล ส่งผลกระทบถึงการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของคนในสังคม
(นพพล อาชามาส, 2561) และมีการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการแจ้งข้อมูลข่าวสารทางการเมืองตอผู้น าชุมชน
เพื่อใหมีความรูและความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และในแนวทางเดียวกัน เป็นการสร้าง
ความตระหนักและเห็นความส าคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อใหประชาชนได้รับข้อมูลที่เป็นป
จจุบัน (กัลยา ยศค าลือ, 2557)
4) มุมมองต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 35 มีการอธิบายถึงเสรีภาพของสื่อมวลชน
ดังนี้ สื่อมวลชนได้รับหลักประกันในการที่จะแสดงความคิดเห็นผ่านการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น มีเสรีภาพในการกระท าดังกล่าวอย่างเต็มที่ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติเอาไว้
เพื่อเป็นไปซึ่งการรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนจะไม่
น าเสนอข่าวสารจากถูกแทรกแซงโดยวิธีการอื่นจากบุคคลอื่น และมีการก าหนดให้เจ้าของหนังสือพิมพ์หรือ
สื่อมวลชนเป็นบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น ป้องกันไม่ให้นายทุนข้ามชาติเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการ นอกจากนี้ได้มี
การบัญญัติเอาไว้ว่ารัฐบาลไม่สามารถที่จะเข้าไปอุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน ไม่ว่า
จะเป็นการอุดหนุนด้วยการให้ทุนทรัพย์ผ่านทางการให้เงินหรือทรัพย์สินใดก็ตาม สาเหตุที่มีการบัญญัติในเรื่อง
ดังกล่าวนี้เอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐท าธุรกิจแข่งขันกับเอกชน ป้องกันไม่ให้เอกชนนั้นถูกเข้าครอบครอง
ครอบง า และก าหนดข้อจ ากัดต่าง ๆ โดยรัฐ (นิธิวัชร์ ตันติภัสร์สิริ , 2559)
ส าหรับมุมมองต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของสื่อมวลชนที่ได้
มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล การเข้ามามีบทบาทของสื่อใหม่รวมถึงระบบนายทุนสื่อ ได้มีการแข่งขันกัน
น าเสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องความความเร็วและความหลากหลายของข้อมูลท าให้เกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริง
รวมไปถึงแรงกดดันให้สื่อบางสื่อลดเพดานจริยธรรมของตัวเอง และหันมาเพิ่มการน าเสนอข่าวที่เต็มไปด้วย
อารมณ์ สีสันเพื่อดึงดูด และขายข่าว ส่งผลให้บางครั้งขาดการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารก่อนน าเสนอ และพบว่า
มีหลายส านักข่าวรายงานข่าวข้อมูลบิดเบือน รวมทั้งการน าเสนอข่าวที่ละเลยจริยธรรม และความรับผิดชอบใน
การเป็นสื่อมวลชนที่ดี แต่มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับสารและตอบสนองต่อนโยบาย
ขององค์กร สื่อที่ตนเองสังกัดอยู่ประเด็นหลักๆ ที่สื่อมวลชนไทยมักจะละเมิดจริยธรรมในการน าเสนอข่าว ส่วน
ใหญ่เป็นประเด็นเกี่ยวกับการรายงานข่าวที่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่น การเสนอภาพข่าวที่ไม่เหมาะสม วิธีการหา