Page 132 - 22825_Fulltext
P. 132

2-92



                       ช่องว่างความยากจน (Poverty gap ratio) หมายถึง ช่องว่างระหว่างรายจ่ายของคนที่ตกอยู่ใต้เส้นความ
                  ยากจนกับเส้นความยากจนเพื่อบ่งชี้ว่าคนจนเหล่านี้มีระดับรายจ่ายต่ ากว่าเส้นความยากจนมากน้อยเพียงใด
                  โดยเป็นการหาค่าเฉลี่ยร้อยละของช่องว่างระหว่างเส้นความยากจนกับรายจ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนของ

                         2. มุมมองความเหลื่อมล้ าในสังคมและการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
                       ความเหลื่อมล้ าจะเป็นการกล่าวถึงความไม่เทียมกันระหว่างผู้ที่มีโอกาสและผู้ที่ขาดโอกาสซึ่งโอกาสในที่นี้
                  คือ โอกาสในการเข้าถึง ต่อรองและจัดการทรัยากรต่าง ๆ ในสังคม ความเหลื่อมล้ าบางครั้งก็เป็นเหตุ บางครั้ง

                  เป็นผลของในตัวเอง (อติวิชญ์ แสงสุวรรณ) ถ้าเป็นผลเพราะสังคมขาดการกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม
                  ส าหรับรอลส์จุดตั้งต้นที่เท่าเทียมกันนี้จะถือว่าเป็นธรรมส าหรับทุกคน โดยใช้หลักเสรีภาพที่เท่าเทียมให้บุคคล
                  ในสังคมมีเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน
                         ในมุมมองความเหลื่อมของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ความเหลื่อมล้ า อาจเกิดได้ 4 ด้านด้วยกัน คือ
                  ความเหลื่อมล้ าทางสิทธิ โอกาส อ านาจ ศักดิ์ศรี ไม่จ าเป็นว่าความเหลื่อมล้ าทั้ง 4 ด้านนี้ต้องเกิดขึ้นจาก

                  กฎหมายเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากแนวทางการปฏิบัติ หรือพูดให้กว้างกว่านั้นคือเกิดในทาง
                  วัฒนธรรม มากกว่า (สฤณี อาชวานันทกุล, 2554)
                         ประเทศไทยภายหลังจากที่มีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้พัฒนาได้

                  อย่างก้าวหน้าในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษย์ชน และด้านสาธารสุขโดยประชาชนชาวไทยเกือบทั้งหมดของ
                  ประเทศได้รับสิทธิในการรับรักษาพยาบาลจากหนึ่งในสามระบบตามสิทธิของตน คือ สวัสดิการข้าราชการและ
                  รัฐวิสาหกิจ ระบบประกันสุขภาพ และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
                         โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อให้

                  ประชาชนกลุ่มผู้ไม่มีสวัสดิการหรือไม่มีหลักประกันสุขภาพระบบใดๆ เลยได้มีหลักประกันในการเข้าถึงการ
                  รักษาพยาบาล โครงการนี้นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าทางสาธารสุขของประเทศไทยอย่างแท้จริง โดย
                  สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพประชาชนทุกคนโดยเฉพาะผู้ยากไร้ได้มีหลักประกัน การได้รับการ
                  บริการแพทย์ที่เท่าเทียม โดยวัตถุประสงค์ของหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับความเสมอภาคและ

                  เป็นธรรม รวมถึงการเข้าบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นระบบที่ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่าที่สุด โดย
                  ใช้ระบบการบริหารจัดการที่เคร่งครัด และเน้นกลุ่มผู้ให้บริการทางสุขภาพทั่วไปในกรณีผู้ป่วยนอกเป็นหลัก
                         โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายสาธารณะ การสร้างนโยบายสาธารณะ
                  เป็นหนึ่งในองค์ประกอบส าคัญของการสร้างเสริมสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งด้านบวกและลบ นโยบาย

                  สาธารณะไม่จ าเป็นต้องเป็นนโยบายของรัฐเท่านั้น แต่นโยบายสาธารณะสามารถเกิดจากภาคประชาชน
                  ภาคเอกชน ชุมชนและสังคมด้วย นโยบายสาธารณะจึงหมายถึง ทิศทางหรือแนวทางที่สังคมโดยรวมเห็นว่า
                  หรือเชื่อว่าควรจะด าเนินการไปในทิศทางนั้น” หัวใจส าคัญของนโยบายสาธารณะไม่ได้อยู่ที่ค าประกาศ หรือ
                  ข้อเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นทางการ แต่อยู่ที่ “กระบวนการ” ที่ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุก

                  ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ นโยบายสาธารณะที่ดีต้องเป็น “นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม” (ส านักงาน
                  คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)
                         แม้ที่ผ่านมา ระบบสาธารสุขของประเทศไทยมีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการรับบริการ
                  สุขภาพ คุณภาพบุคลากร การสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรม แต่ตลอดระยะที่ผ่านมากองทุนหลักประกัน

                  สุขภาพถ้วนแห่งชาติ รายจ่ายมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของงบประมาณ เนื่องจากจ านวนเข้ามาใช้บริการ
                  เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดผลจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แม้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการ
                  รักษาพยาบาลได้ดีขึ้น ทุกวันนี้คนไทยเจ็บป่วยไปโรงพยาบาลกันมากขึ้น ปี 2556 คนไทยป่วยเข้าโรงพยาบาล

                  แบบคนไข้นอก 155 ล้านครั้ง โดยต่อมาในปี 2560 คนไข้นอกเพิ่มเป็น 300 ล้านครั้ง นอกจากนั้น จ านวนวันที่
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137