Page 108 - 22825_Fulltext
P. 108

2-68



                  ความต้องการและความพึงพอใจ จนกลายเป็นที่มาของการพัฒนาคุณภาพชีวิตการท างาน (Quality of Work
                  Life) ขณะเดียวกัน งานของสุดารัตน์ สีล้ง (2560) พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตการท างานของต ารวจอยู่ในระดับ
                  ปานกลาง ขณะที่ระดับประสิทธิภาพในการท างานอยู่ในระดับดี น ามาสู่การเสนอแนวทางการบริหารคุณภาพ

                  ชีวิตการท างาน ว่าควรให้ความส าคัญกับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอเป็นประโยชน์ต่อสังคม การ
                  พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร โดยให้ความเห็นว่าความปลอดภัยและความมั่นคงเป็นความต้องการ
                  ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

                         ฉะนั้น คุณภาพชีวิตของต ารวจจึงสะท้อนให้เห็นถึงความปลอดภัย โดยต ารวจมีผลต่อความเชื่อมั่นและ
                  ความรู้สึกปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งขึ้นอยู่กับจ านวนของเจ้าที่ต ารวจเป็นส าคัญ แต่ในอีกมุมหนึ่งพบว่า
                  การจะท าให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของต ารวจ การที่เจ้าหน้าที่
                  ต ารวจจะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่ต ารวจ ผลตอบแทนที่ได้รับ
                  อย่างไรก็ดี มีรายงานว่าต ารวจเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีปัญหาด้านคุณภาพชีวิตการท างานที่ส่งผลกระทบกับการ

                  ปฏิบัติงาน เมื่อคุณภาพชีวิตการท างานของเจ้าหน้าที่ต ารวจเกิดปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ ประชาชน ดังนั้น
                  เจ้าหน้าที่ต ารวจควรได้รับการพิจารณาเงินเดือนตามสภาพการเสี่ยงภัยและภาระหน้าที่ เพื่อเป็นก าลังใจในการ
                  ท างาน และเพื่อประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนได้อย่างเต็มที่ (อรุษ ฐานเจริญ, 2553)

                         สัดส่วนงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนากับการจัดซื้ออาวุธ กระบวนการจัดตั้งงบประมาณ
                  การจัดซื้อจัดจ้างเป็นหนึ่งในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการได้มาซึ่งเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
                  ทางการเงินส าหรับอุปกรณ์และบริการ โดยส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึงการจัดการเงินจ านวนมาก ณ จุดนี้ของ

                  กระบวนการ (Securitysectorintegrity, (n.d.)) ซึ่งประเทศไทยด าเนินการโดยคณะกรรมการทบทวน
                  ยุทธศาสตร์กลาโหม ที่มีหน้าที่ก าหนดยุทธศาสตร์การป้องกัน ประเทศ การพัฒนาระบบราชการ และการ

                  ก าหนดความต้องการระบบอาวุธ เพื่อพิจารณาก าหนดยุทโธปกรณ์ตามขีดความสามารถที่ต้องการ หลังจากนั้น
                  ส านักงานปลัดบัญชีทหารเรือจะด าเนินกระบวนการงบประมาณภายใต้ แผนยุทธศาสตร์ เพื่อก าหนด

                  งบประมาณในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ตามความต้องการและความต่อเนื่อง ทั้งนี้ รูปแบบการจัดสรรงบประมาณ
                  ที่ใช้ในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการจัดสรรงบประมาณแบบ Full

                  Funding คือ อนุมัติตามจ านวนงบประมาณที่ด าเนินการ ซึ่งท าให้ งบประมาณในการด าเนินการจัดซื้อตายตัว
                  ตามการอนุมัติ และ 2) รูปแบบการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปี ที่ไม่ได้ เป็นไปตามราคาอนุมัติแบบตายตัว แต่
                  ก าหนดใช้ราคาปรับปรุงตามภาวะเงินเฟ้อ และส าหรับการช าระเงินเพื่อจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ท าได้ใน 2

                  รูปแบบ คือ 1) ช าระโดยอาศัยงบประมาณปีเดียว และ 2) ช าระเป็นเงินผ่อนส่ง โดยก าหนดวงเงินงบประมาณ
                  ไว้ให้ด าเนินการ ซึ่งถือเป็นการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ นอกจากนี้ ควรมีการก ากับดูแลและติดตาม

                  ตลอดกระบวนการได้มาซึ่งทั้งหมด และต้องจบลงด้วยการประเมินผลลัพธ์ (ณัฐธยาน์ ว่องวงศารักษ์, 2555).

                         นโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอาวุธในต่างประเทศ (วิษณุ มั่งคั่ง, 2560) ประเทศ

                  อิสราเอล รัฐบาลคือผู้ผลักดันการพัฒนา อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ผ่านการวิจัยและพัฒนา โดยมีนโยบาย
                  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ด้วยการให้ทุนสนับสนุนลงในการวิจัยในอัตราส่วนร้อยละ 28 ของงบประมาณ
                  กลาโหม ประเทศเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ถูกก าหนด ให้เป็นเทคโนโลยี

                  เป้าหมาย โดยเฉพาะในกลุ่มของอุปกรณ์ ตรวจการณ์ การต่อเรือและเรดาร์ ที่ถือเป็นจุดแข็งของอุตสาหกรรม
                  นอกจากนี้ภาครัฐยังมีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็น

                  ระบบนิเวศที่มีการประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนแนวความคิดกันอย่างใกล้ชิด ประเทศเกาหลีใต้ มีการ
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113