Page 88 - 22825_Fulltext
P. 88

2-48



                  โลกบาล 16.9 เอกลักษณ์ทางกฎหมายส าหรับทุกคน  16.10 และการเข้าถึงข้อมูลและ
                  การปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน แต่ละเป้าประสงค์จะมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมในการตอบโจทย์แต่ละเป้าประสงค์
                  เช่น จ านวนเหยื่อจากการถูกฆาตกรรมโดยเจตนาต่อประชากร 100,000 คน จ านวนของเหยื่อการค้ามนุษย์ต่อ

                  100,000 ผู้ถูกกักขังที่ไม่ถูกพิพากษาลงโทษ (Unsentenced detainee) ในสัดส่วนของประชากรในเรือนจ า
                  สัดส่วนของบุคคลผู้ซึ่งอย่างน้อยติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและจ่ายสินบน หรือถูกเรียกรับสินบนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
                  เป็นต้น สรุปได้ว่า หากสังคมมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนครบทั้ง 17 ด้านนี้ สังคมจะมีความน่าอยู่ ไม่เกิดความ

                  รุ น แ ร ง ทั้ ง ท า ง ต ร ง ( ก า ย ภ า พ )   ค ว า ม รุ น แ ร ง ท า ง โ ค ร ง ส ร้ า ง
                  (ความเหลื่อมล้ า) และความรุนแรงทางวัฒนธรรม หากพิจารณาในระดับตัวชี้วัดจะเห็นได้ว่า
                  ดัชนีสันติภาพโลกและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

                           จากวรรณกรรมต่างประเทศที่ได้ศึกษามาเบื้องต้น พอจะเห็นลักษณะร่วมได้ว่า การศึกษาเรื่อง

                  สันติภาพควรศึกษาถึง  ความรุนแรงทางกายภาพ การปราศจากความกลัวต่อความรุนแรง และควรศึกษา
                  ครอบคลุมถึง ทัศนคติ สถาบัน โครงสร้างที่จะสร้างและด ารงไว้ซึ่งสันติสุขในสังคม ซึ่งหมายรวมถึงจิตใจด้วย
                  การศึกษาเรื่องจิตใจในด้านของความสุขจึงเป็นสิ่งจ าเป็นที่ควรให้ความส าคัญ โดยองค์ประกอบของสันติภาพ

                  ควรประกอบด้วย P1. ความขัดแย้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เน้นศึกษาความรุนแรงที่เห็นชัดเจน
                  และยืดเยื้อเรื้อรัง P2. ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม เน้นศึกษาความปลอดภัยในสังคมโดยไม่มีความ

                  หวาดกลัว P3. การทหาร ศึกษาค่าใช้จ่าย บุคลากรและอาวุธดังกล่าว P4. รัฐบาลที่ท าหน้าที่ดี/การจ ากัด
                  อ านาจรัฐบาล/ความชอบธรรมของผู้น า/นิติธรรม ศึกษาการท าหน้าที่ของรัฐว่ามีนิติธรรมหรือไม่  P5.

                  สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี ศึกษาสภาพแวดล้อมในการเอื้ออ านวยให้ท าธุรกิจ P6. การกระจายทรัพยากร
                  (ความเป็นธรรมในสังคม) ศึกษาความเหลื่อมล้ าในด้านเศรษฐกิจและสังคม ความยากจน P7. การยอมรับใน

                  สิทธิของคนอื่น/การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน ศึกษาเสรีภาพของประชาชนและการอยู่ร่วมกับคนอื่น             P8.
                  ความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน/การท างานร่วมกับคนที่แตกต่าง(หลากหลาย)/การพูดคุยกับคนที่แตกต่าง
                  ศึกษามุมมองต่อคนต่างชาติ P9. การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร (สื่อ) ศึกษาเสรีภาพของสื่อและ

                  การคุกคามสื่อมวลชน P10. ระดับทุนทางมนุษย์ ศึกษาการพัฒนามนุษย์ในด้านการศึกษา สุขภาพ การมีงานท า
                  P11.การคอร์รัปชัน ศึกษาการคอรรัปชันในภาครัฐและเอกชน P12. กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ

                  ศึกษากระบวนการยุติธรรมที่เข้าถึงง่าย มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน P13. ความสุข ศึกษา
                  ความสุขทั้งทางใจและทางกาย รวมถึงสุขภาพชุมชน P.14 เครือข่ายความร่วมมือทางสังคม ศึกษาการรวมกลุ่ม

                  การท างานเป็นเครือข่าย 15.การสร้างความปรองดอง ศึกษาการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันภายหลังความรุนแรง



                         3.2. องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับดัชนีสันติภาพในประเทศไทย
                         องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับดัชนีสันติภาพในประเทศไทย มีทั้งองค์ความรู้ที่ได้มีการจัดท าไว้โดยตรงตาม

                  กรอบแนวคิดของดัชนีสันติภาพโลกและองค์ความรู้ด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

                         1 ดัชนีและตัวชี้วัดและองค์ความรู้ด้านสันติภาพ

                           องค์ความรู้ด้านสันติภาพที่มีการจัดท าตามกรอบแนวคิดของดัชนีสันติภาพโลกมี  การด าเนินการโดย

                  สถาบันพระปกเกล้า  การจัดท าและวัดระดับดัชนีสันติภาพหรือสันติสุขในประเทศไทย  การก าหนดตัวชี้วัดและ
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93