Page 82 - 22825_Fulltext
P. 82
2-42
โดยใช้ข้อมูลจากสถานทูตสหรัฐฯ ในประเทศต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ องค์กรเอกชน
และองค์กรระหว่างประเทศ รายงานที่มีการตีพิมพ์ การเดินทางไปวิจัยในทุกภูมิภาค และข้อมูลที่มีผู้ส่งมาที่
[email protected] ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ได้จัดท าขึ้นส าหรับองค์กรเอกชนและบุคคลทั่วไปเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
เกี่ยวกับความก้าวหน้าของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่ทางการทูตของสหรัฐฯ ได้
รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์และปฏิบัติการของรัฐบาล โดยอาศัยการวิจัยอย่างละเอียดถี่ถ้วน
รวมไปถึงการพบปะกับข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ ผู้แทนองค์กรเอกชนในประเทศและระหว่างประเทศ
องค์กรระหว่างประเทศ ข้าราชการ นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ และผู้ตกเป็นเหยื่อที่รอดมา ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลส าหรับรายงานประจ าปีนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแหล่งข้อมูลของทุกๆ ประเทศด้วย
มุมมองใหม่ในการประเมินผล (Department of State United States of America, 2562, 34-36)
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้จัดท ารายงานการค้ามนุษย์ขึ้นทุกปี รายงานได้น าเสนอเกี่ยวกับ
สถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากการค้ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวไป 175
ประเทศทั่วโลก โดยแบ่งเกณฑ์การจัดอันดับเป็น 4 ระดับ คือ รัฐบาลที่ด าเนินการได้สมบูรณ์จะถูกจัดให้อยู่ใน
ระดับที่ 1 ถัดมาเป็นรัฐบาลที่ก าลังใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ าจะถูกจัดให้อยู่ใน
ระ ดั บ 2 ถั ด ล ง ม า อี ก เ ป็ น รั ฐ บ า ล ที่ ไ ม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ต า ม ม า ต ร ฐ า น
ขั้นต่ าโดยสมบูรณ์ และไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างมีนัยส าคัญในการด าเนินการดังกล่าวจะถูกจัดให้อยู่ในระดับ
ที่ 3 ท้ายที่สุดจะน าเกณฑ์ส าหรับบัญชีประเทศที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ (Special Watch List) มาพิจารณา ถ้า
หากลักษณะตรงกับที่ระบุไว้ในเกณฑ์ของประเทศที่อยู่ในระดับ 2 จะถูกจัดให้อยู่ในระดับ 2 ที่ควรถูกจับตามอง
ส าหรับสถานการณ์ในประเทศไทย รายงานการค้ามนุษย์ประจ าปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2562) ระบุว่า
ประเทศไทยจากการวัดระดับ 4 ระดับข้างต้น ถูกวัดให้อยู่ในระดับที่ 2 (TIER 2 WATCH LIST) คือ ประเทศ
ที่รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ าของกฎหมาย TVPA โดยสมบูรณ์แต่ก าลังใช้ความพยายามอย่างยิ่งใน
การที่จะปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐานเหล่านั้น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ าอย่างเต็มที่ในการ
ขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ แต่มีความพยายามอย่างมีนัยส าคัญในการด าเนินการดังกล่าว ความพยายามเหล่านี้
ประกอบไปด้วยการด าเนินการเพื่อปรับปรุงการประสานงานกับภาคประชาสังคมในการสืบสวนสอบสวนกรณี
การค้ามนุษย์และการคุ้มครองผู้เสียหาย การจัดการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการ
ด าเนินงานโดยค านึงถึงบาดแผลทางใจให้แก่พนักงานอัยการและผู้พิพากษา ตลอดจนการเริ่มกระบวนการ
สอบสวนเจ้าหน้าที่ 9 รายที่ถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้
จัดตั้งคณะท างานเพื่อพิจารณาใช้ช่วงระยะเวลาฟื้นฟูและไตร่ตรอง (reflection period) ส าหรับผู้เสียหาย
และกลไกการส่งต่อระดับประเทศ ตลอดจนจัดตั้งกองบังคับการต ารวจที่ปฏิบัติการปราบปรามการแสวง
ประโยชน์ทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ตเป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นว่า มีความ
พยายามโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงการรายงานที่ผ่านมา แม้ว่าจะพิจารณาถึงผลกระทบจากการระบาด
ใหญ่ของโรคโควิด-19 ที่มีต่อศักยภาพในการปราบปรามการค้ามนุษย์แล้วก็ตาม ทางการเริ่มกระบวนการ
สืบสวนสอบสวนกรณีการค้ามนุษย์น้อยลง ด าเนินคดีกับผู้ต้องหาน้อยลง และพิพากษาลงโทษนักค้ามนุษย์
น้อยลงอย่างมีนัยส าคัญเมื่อเทียบกับปี 2562 แม้ว่าจะมีการรายงานอย่างแพร่หลายว่า กลุ่มแรงงานต่างด้าว
มักจะถูกบังคับใช้แรงงานในหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่รัฐบาลกลับระบุผู้เสียหายจากการค้า
มนุษย์ด้านแรงงานในจ านวนที่ต่ าเมื่อเทียบกับขอบเขตของปัญหา เจ้าหน้าที่มักจะขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ
การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และรัฐบาลขาดระเบียบปฏิบัติส าหรับพนักงานตรวจแรงงานในการส่งต่อกรณีต้อง
สงสัยไปยังเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ทางการไทยไม่เคยรายงานว่า ได้ระบุผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้าน
แรงงานอันเป็นผลมาจากการตรวจสอบเรือประมงที่ท่าเรือ การให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้เสียหายโดยรัฐยังคงไม่