Page 160 - 22665_Fulltext
P. 160
143
5.3.1 ความขัดแย้งและกลไกแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่ชุมชนบักดอง มีความขัดแย้ง
ในพื้นที่มีหลายเรื่อง หลายเรื่องคลี่คลายไปแล้ว บางเรื่องยังด ารงอยู่ เช่น
1) ความขัดแย้งของผู้น าท้องที่แต่เรื่องนี้คลี่คลายไปได้แล้ว จากการท างาน
ร่วมกันได้ในปัจจุบัน
2) ความขัดแย้งเรื่องการซื้อขายที่อยู่อาศัยให้กับคนที่ไม่มีสิทธิ
3) ความขัดแย้งในเรื่องที่ท ากินเรื่องเขตแดนและการรุกล้ าเขตแดน เรื่องการไม่มี
เอกสารสิทธิ์ ความขัดแย้งเรื่องการจัดการป่า การใช้ทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกพื้นที่ป่าจะมีคนจาก
พื้นที่อื่นมาบุกรุกด้วย แต่ก็ได้ด าเนินการขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
4) ความขัดแย้งในด้านชาติพันธุ์ที่มีอยู่บ้าง แต่โดยรวมเป็นการอยู่ร่วมกันภายใต้
ความแตกต่างและมีการท ากิจกรรมร่วมกัน
5) การจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในด้านครอบครัว โดย
ผู้ใหญ่บ้านได้ให้ผู้อาวุโสเข้ามาท าหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยปัญหาครอบครัวหลายกรณี มีการตั้งศาลไกล่
เกลี่ย ก่อตั้งขึ้น ปีพ.ศ. 2550 ในช่วงเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนมากเป็นเรื่องกระท า
ความรุนแรงในครอบครัว ภายหลังจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแล้ว มีการติดตามประเมินผล และช่วย
สร้างงานสร้างอาชีพให้
6) ความขัดแย้งจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น เยาวชน มีการเปิดศาล
หมู่บ้าน ให้คู่กรณีมารวมถึงผู้ปกครองของเด็กทั้งสองฝ่าย และมีการขอขมากัน
ความขัดแย้งที่กล่าวมาในชุมชนบักดอง หลายกรณีสามารถจัดการให้ลุล่วงได้ โดยใช้คน
กลาง เช่น ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ปราชญ์ชาวบ้าน และในรูปแบบผสมผสาน แบบคณะกรรมการ
เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการป่าชุมชน มีการตั้งศาลหมู่บ้านเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่
เกิดขึ้น โดยคณะกรรมการ มีการให้บทบาทของผู้อาวุโสเป็นคนกลาง มีการขอขมากัน ภายหลังจาก
ไกล่เกลี่ยมีการติดตามประเมินผลภายหลังจากไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและ มีการเสริมด้วยการ ช่วยสร้าง
งานสร้างอาชีพให้ ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติเช่น ป่า มีการท าเป็นป่าชุมชนเพื่อป้องกันการบุกรุก
พื้นที่ป่า และมีการร่วมกันใช้ทรัพยากรกันในชุมชนอย่างยั่งยืน
การไกล่เกลี่ยในบริบทของพื้นที่นี้ ผู้น า รวมถึงผู้อาวุโสจะเน้นการอบรม สั่งสอนให้เป็น
คนดี ให้คิดถึงส่วนรวม นึกถึงการอยู่ร่วมกันเพื่อความสามัคคี สอดคล้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
แบบภูมิปัญญาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ระบบ “เจ้าโคตร” ซึ่งตัวเจ้าโคตรเอง คือ ปู่ย่า
ตายาย (เจ้าโคตรมีทั้งผู้ชายและหญิง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย) ที่เป็นที่เคารพนับถือของลูกหลาน
ตระกูลนั้น หรือแม้แต่คนละตระกูล เนื่องจากมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ให้ความยุติธรรม มีความ
น่าเคารพย าเกรง น่าเชื่อถือ เจ้าโคตรจะท าหน้าที่คนกลางในกรณีมีข้อขัดแย้งกันในครอบครัวหรือ
แม้แต่ในชุมชน และจะเป็นผู้อาวุโส เช่นเดียวกับในชุมชนบักดอง ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม