Page 157 - 22665_Fulltext
P. 157

140







                       ชุมชนเชิงอนุรักษ์ ในนามกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันอย่าง
                       เข้มแข็งของชาวบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 และบ้านแหลมหมู่ที่ 14 โดยเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวให้ได้เข้า

                       มาสัมผัสวิถีชีวิตของชาวประมงชายฝั่ง  และได้ร่วมท ากิจกรรมอนุรักษ์ป่าชายเลน กลุ่มอนุรักษ์มีการ
                       ท างานร่วมกับเครือข่าย สร้างกลุ่มโดยมีเครือข่าย วิชาการ ภาครัฐด้านบงประมาณ และชุมชนต้องเอา

                       ด้วย กลุ่มแกนน า คิดกันเองก่อน และมีที่ปรึกษาในด้านวิชาการ มีภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ
                       รวมถึงเอกชนสนับสนุนงบประมาณด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม

                                  กล่าวในเชิงเปรียบเทียบในบริบททั่วไป บ้านหน้าทับเป็นหมู่บ้านท าประมงเป็นหมู่บ้าน

                       ชาวมุสลิมนับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ริมทะเลใช้เครื่องมือหาปลาอย่างง่ายๆ มีบริบทที่สอดคล้อง
                       กับ ฉัตรทิพย์ นาคสุภาและพูนศักดิ์ ชวนิกรกรประดิษฐ์ (2540) อ้างถึงใน วิชัย กาญจนสุวรรณ

                       (2547) ได้อธิบายหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกในอดีต หมู่บ้านท าประมงมักจะเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิม

                       นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ริมทะเลใช้เครื่องมือหาปลาอย่างง่ายๆเช่นวางเบ็ดวังไทรและวางอวน
                       โดยใช้เรือขนาดเล็กออกเรือทุกวันยกเว้นวันศุกร์เพื่อท าละหมาด โดยทั่ว ๆ ไปชุมชนประมงจะไม่มี

                       ที่ดินปลูกข้าว และการใช้ปลาแลกข้าวจากชุมชนท านาก็ลดน้อยลงแทบหมดไป  ในขณะที่บ้านทับทิม
                       สยาม เป็นหมู่บ้านสุดท้ายติดชายแดนเขมร สภาพภูมิประเทศมีความลาดชัน เป็นชุมชนที่อพยพมา

                       จากหลายที่ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งเขมร ลาว ส่วย เยอ และเคารพในระบบอาวุโส
                       สอดคล้องกับวิถีแบบเจ้าโคตร ภูมิปัญญาอีสานที่เคารพในระบบอาวุโสและระบบความเชื่อ ชาวบ้าน

                       ทับทิมสยาม จะมีอาชีพเกษตรกรรม ทั้งข้าว มันส าปะหลัง ยางพารา เป็นต้น โดยมีอาชีพเสริมเช่นการ

                       ท าจักสาน
                                  ในประเด็นวัฒนธรรมชุมชนในเชิงเปรียบเทียบ ชุมชนบ้านหน้าทับเมื่อพิจารณาจาก

                       วัฒนธรรมชุมชน จะมีสอดคล้องกับที่บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ (2547) อธิบายไว้คือ (1) ลักษณะการสืบ

                       สานวัฒนธรรมชุมชนที่ยาวนาน มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง (2) ระบบ
                       ความสัมพันธ์แบบพี่น้องซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบที่ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น ช่วยเหลือ

                       เกื้อกูลกันบนฐานของความปรารถนา ดีต่อกัน มีความเป็นเครือญาติ เป็นมุสลิมเกือบทั้งหมู่บ้าน (3)
                       ความรู้สึกของคนในชุมชนที่ตระหนักและภาคภูมิใจในคุณค่าวัฒนธรรมชุมชนของตนเอง ส่วนในเรื่อง

                       วัฒนธรรมชุมชนในด้านของคุณธรรม โดยเฉพาะการที่คนในชุมชนคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมจะมีทั้ง
                       ลักษณะคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตัวดังเห็นได้จากความร่วมมือในการใช้ทรัพยากร

                       ปกป้องทรัพยากรไม่ให้คนนอกมาสัมปทานทางทะเล ในขณะเดียวกันก็มีการแย่งชิงทรัพยากรใน

                       บางครั้ง
                                  ในขณะที่ชุมชนบ้านทับทิมสยามเป็นหมู่บ้านที่มีความหลากหลาย มีความภาคภูมิใจใน

                       พระมหากรุณาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ (พระยศในขณะนั้น) ที่ได้ก่อตั้ง

                       หมู่บ้านแห่งนี้ และให้โอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน ส่วนระบบความสัมพันธ์แบบพี่
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162