Page 153 - 22665_Fulltext
P. 153

136







                                     (3) การวิเคราะห์ข้อมูล
                                     งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการลงพื้นที่สนาม และใช้แนวคิดทฤษฎี ของ

                       การจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สันติภาพเชิงลบ และสันติภาพเชิงบวกมาเป็น
                       กรอบในการอธิบายข้อมูลจากการถอดบทเรียนในชุมชน โดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า

                       (Triangulation) โดยพิจารณาจากแหล่งข้อมูล ระยะเวลา และสถานที่ เพื่อหาความเหมือนและ
                       แตกต่างของข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจากหลากหลายกลุ่ม จากทีมนักวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใน 2

                       ลักษณะคือ (1) การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเพื่อศึกษาถึงบริบทความเปลี่ยนแปลง และ (2) การ

                       วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนการน าเสนอผู้วิจัย
                       น าเสนอในลักษณะของการเล่าเรื่องพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Narrative Analysis Description) โดยใช้

                       กระบวนการจัดหมวดหมู่และประเภทของข้อมูล โดยจ าแนกตามประเด็นที่ศึกษา จากนั้นวิเคราะห์

                       เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้แล้วจึงสรุป ตีความผ่านเรื่องเล่าของกลุ่มเป้าหมายที่ให้สัมภาษณ์ และอธิบาย
                       ตามแนวทางของทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งโดยคนกลาง โดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                       (Content analysis) โดยเฉพาะการวิเคราะห์เรื่องเล่า การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
                       หลังจากการเก็บข้อมูลแล้ว ผู้วิจัยได้ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนโดยใช้องค์ประกอบ

                       หลัก 3 ประการดังนี้คือ การจัดระเบียบข้อมูล (Data Organizing) การแสดงข้อมูล (Data Display)
                       การหาข้อสรุป การตีความ และการตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ (Conclusion

                       Integrative and Verification)


                       5.2 บริบททั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน
                                  จากแนวคิดที่เน้นว่า การศึกษาชุมชนสันติสุขต้องให้ความส าคัญกับความเป็นท้องถิ่น

                       เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ขณะเดียวกันก็ยังจ าเป็นที่ต้องเข้าใจถึงการศึกษาจากสากลในการมองสันติสุขใน

                       ชุมชน งานวัดระดับสันติภาพของสากลทั้งงานของ IEP   FFP และ UN รวมถึงงานจากสถาบันอื่น จะ
                       มีการก าหนดตัวชี้วัดที่แน่นอน เช่น งานของ IEP ที่ชื่อว่า ดัชนีสันติภาพเชิงลบจะก าหนดตัวชี้วัด 3

                       ด้านคือ (1) ความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศที่ยังด ารงอยู่ (2) ความปลอดภัยและความมั่นคง
                       ในสังคม  (3) การทหาร (Militarization)  เป็นต้น  เพื่อเปรียบเทียบระดับสันติภาพของ 163 ประเทศ

                       อย่างไรก็ตาม ในสากลก็มีข้อถกเถียง วิจารณ์ถึงการวัดเชิงปริมาณ โดยมีตัวชี้วัดที่เหมือนกันว่าขาด
                       การค านึงถึงบริบท ดังจะเห็นได้จากงานสากลของ (Firchow, 2018) ที่เน้นการวัดสันติภาพโดย

                       ค านึงถึงบริบทชุมชนเป็นการวัดสันติภาพแบบจุลภาค แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ หรือจะน าแนวคิดนี้มาแทน

                       แนวทางของมหภาค ตัวชี้วัดในแนวทางชุมชนจะมีความต่างออกไปในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับบริบททาง
                       เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการเลือกตัวชี้วัดมาจากชุมชนนั้น ๆ

                                  ท าไมงานวิจัยนี้จึงต้องท าความเข้าใจบริบทในชุมชน บริบทมีความส าคัญอย่างไร การ

                       เข้าใจบริบทอธิบายเชื่อมโยงได้กับการศึกษาแนวทางชาติพันธุ์วิทยา (Ethnographic Approach)
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158