Page 152 - 22665_Fulltext
P. 152

135







                                     (3) ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล งานวิจัยชิ้นนี้มีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ ประชากร
                       ที่อยู่ในพื้นที่ที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย ดังต่อไปนี้คือ กลุ่มที่ประชาชนทั่วไป กลุ่ม

                       นักพัฒนาได้แก่ เจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม กลุ่มผู้น าที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ผู้น า
                       ชุมชน ผู้น าศาสนา ซึ่งเป็นผู้ที่ท างานขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนให้เกิดสันติสุข  โดยต้องมีอายุ 15 ปีขึ้น

                       ไป เนื่องจากจะท าให้เห็นถึงความหลากหลายของกลุ่มอายุและสามารถสะท้อนภาพของการก่อตัวของ
                       ชุมชนสันติสุขได้อย่างมีพลวัตและสามารถให้ข้อมูลในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์ของความแตกต่าง

                       หลากหลายในชุมชนและการจัดการความขัดแย้งในชุมชนย้อนหลังไปในห้วง 10 ปีที่ผ่านมาได้

                                  3) วิธีการด าเนินการวิจัย
                                     งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ  ข้อมูลปฐมภูมิ เป็น

                       งานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง

                       (Semi-Structure Interview) โดยเน้นการถามค าถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบผ่านการ
                       เล่าเรื่องอย่างละเอียด และได้อาศัยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมร่วมด้วย

                                      (1) การสนทนากลุ่มย่อย
                                     การสนทนากลุ่มย่อยนั้นเป็นการสนทนากับกลุ่มเป้าหมายที่ได้ก าหนดไว้แล้ว โดยใน

                       การจัดสนทนากลุ่ม แต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 10 – 15 คน โดยเป็นกลุ่มเป้าหมายที่
                       หลากหลาย ได้แก่ กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มนักพัฒนา และกลุ่มผู้น าชุมชน ซึ่งแม้จะมีความแตกต่าง

                       หลากหลายกันทางสถานะ แต่ผู้วิจัยเปิดประเด็นค าถามในระดับพื้นฐานซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนตอบได้ โดย

                       ค าถามหลักจะเป็นการถามถึงบริบทพื้นที่ เหตุการณ์ที่ส าคัญ การร่วมการพูดคุยถึงนิยามของชุมชน
                       สันติสุขในแต่ละคน และการร่วมกันแลกเปลี่ยนของกลไกในการสร้างชุมชนการสร้างสันติสุขในพื้นที่

                       ชุมชนของตนเอง

                                     (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก
                                     ในการศึกษาครั้งนี้จะใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก เข้าร่วมด้วย โดยมีแนวค าถาม

                       เป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูล ส าหรับแนวทางค าถาม ในการศึกษาเป็นการ
                       เปิดประเด็นและถามค าถามด้วยค าถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าถึงเหตุการณ์แต่ละ

                       เหตุการณ์ในเชิงลึก การสัมภาษณ์เป็นไปตามกรอบการตั้งค าถามที่อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้ว
                       ข้างต้น ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ ผู้น าทั้งระดับที่เป็นทางการและไม่เป็น

                       ทางการและผู้น าศาสนา พื้นที่ละ 3 - 5 คน โดยมีแนวค าถามเกี่ยวกับ บริบทของชุมชนในด้าน

                       เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมถึงกลไกในการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใน
                       เชิงลึก เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น ใน

                       แต่ละชุมชน
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157