Page 154 - 22665_Fulltext
P. 154

137







                       Autesserre เอาแตแซร์ เซวาลีน ได้อธิบายว่าท าไมการสร้างสันติภาพจึงล้มเหลว เพราะใช้แนวทาง
                       กว้าง (Broad) ที่เป็นความรู้จากนอกชุมชนหรือจากผู้เชี่ยวชาญมากกว่าจาก ท้องถิ่น (Local

                       Knowledge) โดยใช้องค์ความ รู้จากผู้เชี่ยวชาญ ใช้การวัดสันติภาพจากระดับมหภาค แต่ควรใช้
                       แนวทางชาติพันธุ์วิทยา ที่เน้นบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Culture) ประวัติศาสตร์ จะท าให้เข้า

                       ใจความขัดแย้งที่มีพลวัต  (Capland, 2019, pp. 107 - 118)
                                  การศึกษาชุมชนมีการกล่าวถึงการเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนในฐานะเป็นกลไกการสร้าง

                       ความเข้มแข็งชุมชน  ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับการบริหารจัดการปัญหาทุกเรื่องของชุมชนซึ่งรวมถึงปัญหา

                       ความขัดแย้ง ได้แก่ (1) ลักษณะการสืบสานวัฒนธรรมชุมชนที่ยาวนาน มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่ง
                       ไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่องลักษณะ (2) วัฒนธรรมชุมชนในด้านของคุณธรรม โดยเฉพาะการที่คนใน

                       ชุมชนคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมชอบช่วยเหลือส่วนรวม (3) ระบบความสัมพันธ์แบบพี่น้องซึ่งเป็น

                       ความสัมพันธ์แบบแนวราบที่ไม่มีความแตกต่างทางชนชั้น ช่วยเหลือเกื้อกูลกันบนฐานของความ
                       ปรารถนา ดีต่อกัน (4) ความรู้สึกของคนในชุมชนที่ตระหนักและภาคภูมิใจในคุณค่าวัฒนธรรมชุมชน

                       ของตนเอง (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, 2547) ในขณะที่งานของวิชัย กาญจนสุวรรณ (2547)  ได้กล่าวถึง
                       โลกทัศน์ของชาวไทยภาคใต้ เช่น คือ (1) นิยมความจริงใจและตรงไปตรงมา (2) นิยมยกย่องผู้อาวุโส

                       ให้ความเคารพนับถือผู้สูงอายุ (3) นิยมความเป็นกันเองไม่ยกย่องระบบเจ้าขุนมูลนาย (4) นิยมความ
                       อิสระเสรีชอบมีอะไรเป็นของตนเอง (5) นิยมรักญาติพี่น้องนิยมรักพวกพ้องตนเอง (6) นิยมความเป็น

                       นักเลงใจกว้างใจถึง ซึ่งประเด็นการเคารพอาวุโส ความเป็นเครือญาติก็เป็นเช่นเดียวกันกับในงานวิจัย

                       ของ อุดม บัวศรี (2546)  เจ้าโคตร : การระงับความขัดแย้งในวัฒนธรรมอีสาน
                                  ในส่วนนี้เป็นการศึกษาบริบททั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อ

                       พิพาทในชุมชนภายใต้บริบทชุมชนสันติสุข จึงเน้นการท าความเข้าใจบริบทของชุมชนทั้งสองแห่งใน

                       ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ก่อนที่จะท าความเข้าใจ ศึกษาการจัดการความขัดแย้งและการไกล่
                       เกลี่ยโดยคนกลางโดยตรงต่อไป

                                  1) บริบทของต าบลบักดอง
                                  พบว่า ข้อมูลพื้นฐานของต าบลบักดอง อ าเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ประชากรที่

                       หลากหลายมีทั้งเขมร ลาว ส่วย เยอ จากจ านวนหมู่บ้านที่เยอะมากถึง 22 หมู่บ้าน ลักษณะภูมิ
                       ประเทศมีพรมแดนติดกับประเทศเขมร สภาพทรัพยากรธรรมชาติ  มีป่าไม้ ป่าชุมชน เขตรักษาพันธุ์

                       สัตว์ป่าพนมดงรัก แหล่งน้ า มีทั้งแหล่งน้ าธรรมชาติ และแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น การศึกษา ต าบลบักดองมี

                       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนสาขา โรงเรียนขยายโอกาส และ โรงเรียน
                       มัธยมศึกษา รวมทั้งหมด 18 แห่ง ระบบบริการพื้นฐาน ในเขตต าบลบักดองไม่มีรถโดยสารประจ าทาง

                       การเดินทางต้องใช้ยานพาหนะส่วนตัวระบบเศรษฐกิจ การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้จาก

                       ผลผลิตทางการเกษตร ประชากรร้อยละ ๘๘ ประกอบอาชีพทาง การเกษตร พืชเศรษฐกิจส าคัญคือ
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159