Page 151 - 22665_Fulltext
P. 151

บทที่ 5
                                                     บทสรุป อภิปรายผล และเสนอแนะ



                                  รายงานวิจัยเรื่องนี้เป็นโครงการวิจัยย่อย ภายใต้โครงการวิจัยถอดบทเรียนชุมชนสันติ
                       สุข โดยเน้นศึกษาการจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ

                       ภาคใต้ กรณีบ้านทับทิมสยาม ต าบลบักดอง อ.ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และบ้านหน้าทับ ต.ท่าศาลา

                       อ.ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากพื้นที่ดังกล่าวเป็น
                       การถอดบทเรียนภายใต้บริบทของชุมชนสันติสุขและพหุวัฒนธรรม ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายทาง

                       ทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ศาสนา และชาติพันธุ์ การอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จะท า

                       ให้ความขัดแย้งขยายตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง และเกิดความรุนแรงหรือไม่อย่างไร รวมถึงมีการไกล่เกลี่ย
                       ข้อพิพาทในบริบทเฉพาะของชุมชนอย่างไร


                       5.1 ภาพรวม

                                  1) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
                                     (1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน

                                     (2) ศึกษากระบวนการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน

                                     (3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และ
                       การอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างหลากหลายชุมชน

                                  2) ขอบเขตในการศึกษา ประกอบด้วย

                                     (1) ขอบเขตด้านพื้นที่ ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้  (1.1) ต้องเป็นพื้นที่ที่มีความ
                       หลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ ในขณะเดียวกันก็เคารพความแตกต่างหลากหลาย

                       ของอัตลักษณ์อื่นที่แตกต่างจากตน (1.2) ต้องเป็นพื้นที่ที่ผู้คนที่แตกต่างหลากหลายมีโอกาส หรือ
                       กิจกรรมร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน (1.3) ต้องเป็นพื้นที่ที่

                       ผู้คนในชุมชนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจฐานรากที่ช่วยเสริมสร้างรายได้แก่คนในชุมชน (1.4) ต้องเป็น
                       พื้นที่ที่มีกระบวนการการจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางที่มาจากการตัดสินใจร่วมกันจากคนใน

                       ชุมชน (1.5) ต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสันติสุขและ

                       สงบสุข
                                     (2) ขอบเขตด้านเวลา งานวิจัยดังกล่าวต้องการให้ชุมชนสะท้อนภาพให้เห็นถึงการ

                       ก่อตัวของชุมชนสันติสุข เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของชุมชนโดยภาพรวม พลวัตและ

                       พัฒนาการในการสร้าง/ก่อตัวของชุมชนให้เกิดสันติสุขในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2553 -
                       2563)
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156