Page 148 - 22665_Fulltext
P. 148

131







                       ถามว่าต้องการให้ตรงนี้เกิด แล้วก็เป็นประโยชน์กับพื้นที่ แล้วก็ผู้น าที่สามารถเข้าไปตักเตือนเขาว่า
                       ห้ามไปฆ่ากันด้วยผลประโยชน์ตรงนี้ ถ้ามีปัญหาให้มานั่งคุยกันจะเป็นคนกลางให้” (อภินันท์ เชาวลิต,

                       สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2564)
                                        การจัดการความขัดแย้งในชุมชน ต้องเข้าใจวิถีของคนใต้ วิถีคนใต้อย่าเบ่งใส่ อย่า

                       ใช้อ านาจที่เหนือว่ามาบังคับ  ควรใช้ความเข้าใจรวมถึงความเป็นเครือญาติ
                                        “มีอยู่คนหนึ่งเป็น...ช่วงนั้นช่วงโควิดครั้งแรก  เขาโทรศัพท์ มาเร่งให้เราเอา

                       รถดับเพลิงไปรดน้ าต้นไม้  อ้างว่ามีเพื่อนเป็นอธิบดีกรมฯ ก็ให้เพื่อนโทรศัพท์มาหา วิสัยคนใต้ คือจะ

                       ไม่ท าให้แล้วถ้าแบบนั้น ถือว่าเบ่งใส่กัน วิสัยคนใต้ ผมบอกเลย หาน้ าในคลองรดเอาเอง รถ อบต. จะ
                       start ไม่ติด  คนใต้จะมองเป็นเบ่ง คนใต้นี้เรื่อศักดิ์ศรีส าคัญมากนะครับ  อาผมต้องโทรศัพท์มา clear

                       ให้ว่าเป็นเพื่อนอา พอบอกว่าเพื่อนอาก็เลยจบ รถมีกี่คันเราก็ขนไปรดน้ าให้หมด...ถ้าเอาความดีมา

                       พูดคุยกันนี้ปัญหาใหญ่ขนาดไหนก็เล็กนิดเดียว นิสัยใต้จะเป็นแบบนี้ แล้วก็นิสัยคล้ายกันนะครับ คน
                       ฝั่งติดทะเลอ่าวไทยนิสัยจะคล้ายกันหมดตั้งแต่ภาคตะวันออกมาเลย” (อภินันท์ เชาวลิต, สัมภาษณ์, 3

                       มีนาคม 2564)


                                        6) ความขัดแย้งจากการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น
                                        ผู้น าชุมชนจะพิจารณาก่อนว่าควรจะเชิญใครมาร่วมพูดคุย จะให้เด็กมาเจอกัน

                       ไหม หรือไม่ควรมาเจอกัน บางกรณีถ้ารุนแรงมากจะเชิญเจ้าหน้าที่ต ารวจและโต๊ะอิหม่ามมาร่วมด้วย

                       เพื่อให้ช่วยพูดคุยให้ตกลงกัน
                                        “ บางครั้งผมแก้ปัญหาเด็กทะเลาะวิวาท ผมจะไม่ให้เด็กเจอกันเลย เอาผู้ใหญ่มา

                       คุยกัน ถ้าเอาเด็กมาด้วยในช่วงตรงนั้นเด็กจะชี้หน้าล้อกัน  ถ้าพ่อแม่กลุ่มไหนที่เอาเด็กไม่อยู่ ผมจะ

                       ไม่ให้เด็กมาร่วมเพราะว่าจะเกิดปัญหา บางครั้งผมก็ต้องเอาเจ้าหน้าที่ต ารวจในหมู่บ้านมามีส่วนร่วม
                       ด้วยในการแก้ปัญหาตรงนี้ ส่วนมากผมจะเรียกมาทุกฝ่าย ต้องเชิญโต๊ะอิหม่ามมาด้วย บางครั้งผมต้อง

                       เชิญผู้น าทางจิตวิญญาณ ทางมัสยิดมาร่วมด้วย แต่แล้วแต่เคส แล้วแต่ปัญหาที่เกิดความรุนแรงขนาด
                       ไหน” (สุธรรม โต๊ะหมาด, สัมภาษณ์, 22 พฤษภาคม 2564)

                              ขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แบ่งได้เป็นขั้นตอนก่อนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ระหว่างและ
                       ภายหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ยกตัวอย่างเช่นการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น ขั้นตอนก่อนการไกล่เกลี่ย
                       ข้อพิพาท ผู้ใหญ่บ้านจะคุยกับผู้ปกครองก่อนว่ามีแนวโน้มจะตกลงกันได้หรือไม่  และประเมินว่าทะเลาะ

                       กันรุนแรงหรือไม่ หากมีการใช้มีดท าร้ายไม่เจ็บมาก จะเชิญเจ้าหน้าที่ต ารวจ และโต๊ะอิหม่ามมาร่วมด้วย
                       และให้ผู้ปกครองสองฝ่ายมา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ท าการผู้ใหญ่บ้าน   ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อ
                       พิพาท ผู้ใหญ่บ้านหรือโต๊ะอิหม่าม จะพูดให้เห็นถึงโทษของการทะเลาะกัน และประโยชน์ของการอยู่

                       ร่วมกัน โต๊ะอิหม่ามจะพูดให้คู่กรณีรักกัน  และใช้ค าพูดที่ดีต่อกัน  เมื่อตกลงกันได้จะมีการชดใช้
                       ค่าเสียหาย เด็กจับมือกันขอโทษกันตามหลักศาสนา  และตกลงกันว่าจะไม่มีเรื่องกันอีก จะมีการท า
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153