Page 144 - 22665_Fulltext
P. 144

127







                                        “การจัดการทรัพยากรจังหวัดตราดจนถึงปัตตานีที่มีปัญหา แต่ของเราแก้ได้แก้
                       จบระหว่างประมงพาณิชย์กับประมงพื้นบ้าน  เมื่อก่อนมีสัมปทานแปลงหอยอยู่ 8,000 ไร่ เราท า

                       ประชาคมยกเลิก เพราะว่าเรารู้ปัญหา เพราะที่ต้องยกเลิกผู้มีอ านาจทางราชการกับนายทุนพยายาม
                       เข้ามาขอตลอด เราก็เลยคิดว่าปัญหานี้จะเกิดเหมือนที่สุราษฎร์ธานี หรือปัตตานี ไม่จบไม่สิ้นทะเลาะ

                       กัน เลยถามชาวบ้านว่าใครอยากเลี้ยงบ้าง มีส่วนน้อยถ้าจะยกเลิกเอาไหม ส่วนใหญ่เห็นว่ายกเลิก”
                       (อภินันท์ เชาวลิต, สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2564)

                                        “จากสิงคโปร์มาประมาณ 3 – 4 ปีที่แล้วมาขออนุญาตนายกมาลากหอยลายมา

                       แบบอย่างดีเลย คุยไปคุยมา สุดท้าย จะมาขอสัมปทานลากหอยลาย เพราะน่านน้ าท่าศาลาเป็น
                       น่านน้ าที่มีหอยลายที่มีคุณภาพที่สุดในประเทศไทย ทั้งหอยลายทั้งหอยแครง กินหอยแครงที่นี่แล้วไป

                       กินที่อื่น กล้าท้าเลย ไปกินหอยที่สุราษฎร์ที่เขาบอกว่าหอยใหญ่อะไรอย่างนี้ เหมือนไก่บ้านกับไก่เนื้อ

                       กินกันคนละอย่าง ที่สิงคโปร์มาขอ เขาบอกล่ามบอกว่าให้ผมตายก่อนค่อยท าได้” (สิดดิก อะหลีม,
                       สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2564)

                                        นอกจากนี้ มีระบบตรวจสอบป้องกันการบุกรุกพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนโยบาย
                       ของรัฐ มีค่าปรับที่แพงขึ้นท าให้แก้ปัญหาการบุกรุกของประมงพาณิชได้

                                        “นโยบายรัฐบาลการเข้า – ออก ของประมงพาณิชย์ การจะออกจากฝั่งไปจับ
                       ปลาก็ต้องรายงาน มีระบบ GPS มีลูกเรือต้องรายงานหมด เป็นเรื่องดีที่จะไม่ทับซ้อน เพราะว่า

                       สัญญาณจะมาจุดที่เจ้าหน้าที่อยู่ ถ้าเข้ามาใกล้ฝั่งรู้เลย ค่าปรับแพงก็เลยดีขึ้นเป็นการแก้ปัญหาระยะ

                       ยาวได้” (อภินันท์ เชาวลิต, สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2564)
                                        การจัดการความขัดแย้งของคนในชุมชนด้วยกันเอง  ระหว่างเรือลากอวน vs

                       เรือประมงพื้นบ้านที่เป็นเรืออวน เรือลากกับเรืออวนมีความขัดแย้งกันจาก เรือลากอวนไปลากอวน

                       ของเรืออวนขาด ผู้ใหญ่บ้านจะเข้าไปแก้ไขปัญหา คุยทีละฝ่าย และตกลงกันเรื่องการจ่ายเงิน
                       ค่าเสียหาย บางครั้งก็จะแก้ปัญหาโดยผู้น าท้องถิ่น อย่างไรก็ตามปัจจุบันเรือลากมีน้อยลงท าให้ปัญหา

                       เริ่มคลี่คลายไปเอง
                                         “ผมจะไปคุยกับเรืออวนฝั่งหนึ่ง บอกว่าคุณเสียหายเท่าไร มีคณะกรรมการบ้าง

                       บางทีอาจจะชวนคณะกรรมการหมู่บ้านสักคน 2 คน ไปคุยกับพวกเรืออวนว่าที่คุณมากล่าวหา มาแจ้ง
                       ว่าเรือบ้านผมไปเข้าอวนคุณ อวนคุณขาดสักเท่าไร กี่หัว หัวละเท่าไร แล้วก็เรียกประมงมาว่าเรืออวน

                       ล าน้ า เขากล่าวหาว่าคุณไปท าอวนเขาขาดเสียหาย จริงไหม ถ้ารับปากว่าจริงก็มาเคลียร์กัน เขานัดคุย

                       กันที่บ้านผู้ใหญ่ อย่างนี้ผมก็เรียกเขามาคุยกันแล้วทางผู้เสียหายก็เสนอราคามาว่าเขาเสียหายเท่าไร
                       คุณจะรับได้ไหม เสียหายจริงไหม คุณต้องการไปดูอวนเขาไหมว่าเสียหายจริงหรือเปล่า  ...ส่วนมาก

                       เรืออวนกับเรือลากจะตกลงกันได้ ไม่ค่อยจะมีปัญหาถึงขนาดว่าต้องไปถึงเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่จะเคลียร์
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149