Page 140 - 22665_Fulltext
P. 140
123
ในเรื่องของวัฒนธรรมที่เราสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ตอนนั้นยังไม่เป็นประเทศไทย ยังเป็น
อาณาจักรอยู่ ความขัดแย้งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด
ความรุนแรงได้ ในชุมชนบ้านแหลม ท่าศาลา มีความขัดแย้งในหลายประเด็น
4.2.5 กลไกป้องกันความขัดแย้งในพื้นที่
การแต่งงานน าไปสู่การท ากิจกรรมร่วมกัน และเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน การ
สร้างเรื่องเล่าของวัดท าให้เกิดการพัฒนา วัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่มีชาวพุทธ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเป็น
อิสลาม ชาวไทยพุทธมีความสัมพันธ์กับชาวมุสลิมจากการแต่งงานกัน ท าให้มีความเป็นเครือญาติ
และเกิดการเรียนรู้กิจกรรมร่วมกัน ทั้งงานบวช งานแต่ง งานศพ งานประเพณีต่าง ๆ บางทีงานคน
พุทธ จะท า 2 ครัว แยกแม่ครัวในการท าครัว กล่าวถึง การด ารงอยู่ของวัดแห่งนี้ ในเรื่องความสัมพันธ์
ระห่างมุสลิมกับวัด และชาวไทยพุทธกับวัดนั้น ต่างคนต่างอยู่ไม่ได้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัดกับ
ชุมชน ชาวไทยพุทธไม่ได้มีกิจกรรมในวัด ความสัมพันธ์กับคนรอบชุมชนไม่ดี แต่จะมีชาวพม่าที่มา
ท าบุญที่วัดแห่งนี้ ทัศนคติของผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า
“กิจกรรมร่วมกันไม่มี เขาก็ท ากิจกรรมของเขา เขาไม่ยุ่งกับพุทธ ไม่ได้ร่วม
กิจกรรมกัน ต่างคนต่างอยู่ ไม่ได้ส่งเสริมอะไรกัน เวลามีกิจกรรมมีงาน มีการเหมือนกันเขาก็แยกไป”
“ในวัดมีพระจ าพรรษา ตอนนี้มีรูปเดียวเท่านี้ อีกรูปหนึ่งป่วย รักษาอยู่ที่บ้าน
หมอ เป็นอัมพฤติ ที่ผ่านมาวัดนี้ไม่ค่อยมีพระเพราะกิจวัตรไม่มี กิจนิมนต์อะไร ยกเว้นในช่วงทอดกฐิน
จะไปขอพระมาจากที่อื่นมาอยู่เพื่อรับกฐินพระห้ารูป” (นาย ก., สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 64)
แม้ว่าความสัมพันธ์กับชุมชนจะไม่ดีนัก แต่เรื่องการพัฒนามีการพัฒนามากขึ้น
จากที่เกือบจะกลายเป็นวัดร้าง แต่การอนุรักษ์และพัฒนาให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ประชาชน
นักท่องเที่ยวได้มากราบไหว้ ท าให้วัดเจริญมากขึ้น
“วัดเริ่มพัฒนามากขึ้น จากการมีหลวงพ่อ... มีเรื่องเล่าว่า เป็นพระเก่าแก่ พระ
โบราณ พระประจ า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์” (นาย ก., สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 64)
1) วิถีวัฒนธรรม คนบ้านหน้าทับ
วิถีวัฒนธรรม คนบ้านหน้าทับ มีความเท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน ไม่ควรมา
แสดงความเหนือกว่า
“บ้านหน้าทับเป็นหมู่บ้านที่รับแขกคุณจะมาแบบนักเลง คุณจะมาแบบคนรวย
คุณจะมาแบบคนจน มานั่งร้านน้ าชาคนบ้านเราจะเสมอกันหมด ถ้าคุณมาแบบนักเลง คุณมาแบบคน
รวย มาอวดรวยใส่คนหน้าทัพ ครั้งเดียวเดี๋ยวไม่ได้เข้า คือจะไม่ให้ราคา...” (สิดดิก อะหลี, สัมภาษณ์,
3 มีนาคม 2564)