Page 143 - 22665_Fulltext
P. 143

126







                                        ความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิมไม่มีปัญหาในชุมชนนี้ มีสายสัมพันธ์ร่วมกัน
                       ระหว่างพุทธกับมุสลิม จากการที่ไทยพุทธมาซื้อกรงนกแล้วคุยกันถูกคอ ดังที่ผู้น าชุมชนให้สัมภาษณ์

                       ว่า
                                        “ที่มีปัญหากันเองก็มุสลิมกับมุสลิมกับพุทธ ไม่เคยมีปัญหาสักครั้ง ตั้งแต่จ าความ

                       ได้ระหว่างพุทธกับมุสลิมไม่เคยมีปัญหา ผมเองก็เคยมีแม่เป็นพุทธก็ไปมาหาสู่เขาก็เอาทุเรียนมาให้
                       เมื่อปี 2554 นบพิต าน้ าท่วมหนัก สะพานขาดหมด 4 – 5 สะพาน  ดินสไลด์ปิดทาง ผมก็ขึ้นไปทหาร

                       ไม่ให้เข้า เพราะเข้าไม่ได้ทางขาดกลับมาอาทิตย์หนึ่งเขาบอกว่าเปิดได้แล้ว วันที่เปิดได้ผมก็ไปซื้อ

                       ข้าวสารไปให้ 2 กระสอบ ซื้อปลากกระป๋อง ไปที่บ้านเขา เกือบตายเหมือนกัน เสี่ยงมากไปถึงเขาก็
                       หยิบมะละกอมาให้ผม 2 ลูก เขาบอกอยู่กัน 7 ครอบครัว ที่บ้านเขาเหลือมะละกออยู่ 2 ลูก กินข้าว

                       กับมะละกอ 7 วัน อยู่อ าเภอนบพิต า ประมาณ 40 กว่ากิโลเมตร จนถึงทุกวันนี้ไปมาหาสู่กัน เจ็บไข้

                       ไม่สบายก็ถึงตลอด” (สิดดิก อะหลีม, สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2564)
                                        การแก้ปัญหายาเสพติดในวิถีชีวิตมุสลิม ต้องมีผู้น า พัฒนาสภาพจิตใจ เข้า

                       ใจความเป็นวัยรุ่น พร้อมกับยึดหลักศาสนา
                                        “ต้องพัฒนาสภาพจิตใจ ผมเคยท าเอาวัยรุ่นทั้งหมดในหมู่บ้านพาไปละหมาดที่

                       มัสยิด  ท ากับข้าวให้กิน รวมตัววัยรุ่นชุดด า เด็กภาคใต้กับเด็กภาคกลางจะแต่งตัวไม่เหมือนกัน จะใส่
                       เสื้อแนวนกอะไรพวกนี้  เด็กบ้านเรา พวกนี้จะไม่กล้าเข้ามัสยิดเหมือนกับคนเกเรไม่เข้าวัด ก็เอาแบบนี้

                       พามากินจะไม่ชวนมาละหมาด ให้กินอย่างเดียวจัดแบบบุฟเฟ่ให้เลย 150 กว่าคนตอนนั้นมา แล้วพ่อ

                       แม่ประทับใจมากครั้งหนึ่งที่เราได้ท าแบบนี้ท าให้เด็กฟังเราด้วย ผมไม่ได้เป็นคนดุอะไรแต่เด็กเห็นเรา
                       อยู่ในระบบศาสนาตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็อยู่ในระบบของลูกพี่ เด็กไปเห็นว่าเราเองเป็นคนที่สั่งลูกพี่มันได้

                       เด็กก็ตามลูกพี่ มีผลตอบรับที่ดีมาก” (สิดดิก อะหลีม, สัมภาษณ์, 3 มีนาคม 2564)


                                        2) การจัดการความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ

                                        การใช้ทรัพยากรทางทะเลในท่าศาลา ที่เรียกกันว่าอ่าวทองค า จากความอุดม
                       สมบูรณ์ในทรัพยากรทางทะเลท าให้มีหลายฝ่ายต้องการใช้ทรัพยากรทั้งคนนอกพื้นที่และคนภายใน

                       พื้นที่ และยังมีการจะเข้ามาท าท่าเทียบเรือของบริษัทเอกชนแต่ถูกชาวบ้านคัดค้านโครงการจึงไม่เกิด
                       และมีการตั้งชื่ออ่าวว่าเป็นอ่าวทองค าเพื่อบ่งบอกว่ามีความอุดมสมบูรณ์ โดยคนในชุมชนนี้มี

                       ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ท าให้ไม่ค่อยประสบปัญหาเรื่องความยากจน

                                        กรณีความขัดแย้งระหว่างเรือประมงพาณิชย์กับเรือประมงพื้นบ้าน เป็นความ
                       ขัดแย้งระหว่างคนนอกชุมชนกับคนในชุมชน แย่งที่ท ากิน เรือคราดหอย  ทั้งหอยแครง หอยลาย เข้า

                       มาในพื้นที่ เข้ามาขอท าสัมปทาน การจัดการในหลายพื้นที่ไม่ส าเร็จแต่ในพื้นที่ท่าศาลาท าได้ส าเร็จ

                       ผ่านการน าของผู้น าที่ไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนและการท าประชาคม สัมปทานการท าหอยจึงไม่เกิดขึ้น
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148