Page 156 - 22665_Fulltext
P. 156
139
2) บริบทของต าบลท่าศาลา
บ้านหน้าทับ อยู่ในต าบลท่าศาลา ต าบลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับสายน้ าและการ
ค้าขายทางน้ ากับเมืองต่าง ๆ ต าบลท่าศาลามีวิสัยทัศน์ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มียุทธศาสตร์การ
พัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิตหลากหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม สภาพพื้นที่เป็นที่
ราบชายฝั่งทะเลเป็นหาดทรายสลับกับป่าชายเลน จ านวนหมู่บ้าน มี 15 หมู่บ้าน (แสดงจ านวน
หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนต าบล) จ านวนประชากร ประชากรทั้งสิ้น 28,700 คน เพศหญิงกับ
ชายใกลเคียงกัน แยกเป็น ชาย 14,272 คน หญิง 14,428 คน โรงเรียนในต าบลท่าศาลมีทั้งโรงเรียน
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนมัธยมศึกษาศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัย
เรียน มีมัสยิด และบาลาย จ านวน 27 แห่ง วัด 3 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง ด้านเศรษฐกิจ
ประชาชนประกอบอาชีพการประมงเป็นส่วนใหญ่ มีปศุสัตว์กับ การท านาเป็นส่วนน้อย ต าบลท่าศาลา
เป็นต าบลที่ตั้งของศูนย์ราชการอ าเภอท่าศาลาและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจส าคัญๆ เป็นจ านวนมาก จึงมี
ลักษณะเป็นพื้นที่ชุมชนเมือง กลุ่มอาชีพ ต าบลท่าศาลา มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ในปี พ.ศ.2548 -
2555 จ านวน 48 กลุ่ม การจัดตั้งกลุ่มมีจ านวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์ตรงกันหลายกลุ่ม ท าให้กลุ่ม
ขาดความเข้มแข็ง กลุ่มมีระยะเวลาด าเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในระยะสั้น จึงสลายตัวเร็ว
และจัดตั้งกลุ่มใหม่ไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้มีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างเข้มแข็ง
สภาพปัญหา จากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของอบต.ท่าศาลา ปี พ.ศ.2556 - 2560 ระบุสภาพ
ปัญหาไว้หลายด้าน ดังนี้ ปัญหาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของชุมชน ปัญหาด้าน
โครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค และ ปัญหาด้านการเมืองการบริหาร ปัญหาด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในต าบลมีแหล่งน้ าธรรมชาติและแหล่งน้ าที่สร้างขึ้น และ
โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ด้านประเพณี มีการรักษาประเพณีศิลปวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วน
ต าบลท่าศาลาได้จัดงานวันสงกรานต์ ประเพณีลอยแพ วันเข้าพรรษา ถวายเทียนพรรษา งานประเพณี
ด้านศาสนาอิสลาม เช่น งานเมาลิดกลาง การเข้าสุนัต ฯลฯ ซึ่งได้จัดเป็นประจ าทุกปี
ชุมชนบ้านหน้าทับ หมู่ที่ 7 ต าบลท่าศาลา อ าเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่เดิม มีรายได้หลักจากอาชีพ
ประมงและการเกษตร ในชุมชนมีศาสนาสถาน ประกอบด้วย มัสยิดดารุลอามานและบาลาย ส่วนวัด
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอื่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์
กลุ่มงานไม้ กลุ่มวิสาหกิจเครื่องแกงบ้านแหลมโฮมสเตย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์หางอวน กลุ่มมุสลีมะฮ์แม่บ้าน
หน้าทับ, กลุ่มแกนน าศาสนาประจ ามัสยิดฯ บ้านหน้าทับ, กลุ่มเยาวชนฯ บ้านหน้าทับ, กลุ่มอนุรักษ์
ป่าชายเลนบ้านหน้าทับ และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านหน้าทับ กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลม
โฮมสเตย์ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้สูง กลุ่มชาวบ้านได้ร่วมกันจัดท ากิจกรรมท่องเที่ยว