Page 158 - 22665_Fulltext
P. 158

141







                       น้องซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแนวราบจะมีสูงในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเห็นได้จากงานบุญ ประเพณีต่าง
                       ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ต่างกลุ่มชาติพันธุ์เมื่อมีพิธีกรรมส าคัญก็จะร่วมแรงร่วมใจกันทั้งหมู่บ้าน เช่น ในพิธี

                       แซนโฎนตา ของเขมร คนลาวก็จะมาร่วมงานด้วย


                       5.3 ศึกษากระบวนการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน
                                  งานวิจัยเรื่องนี้ ผู้เขียนเน้นไปที่การจัดการความขัดแย้ง โดยการค านึงถึงบริบทของ

                       ชุมชนสันติสุข แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธงานในระดับมหภาค การศึกษาบริบทในสากลมักจะเริ่มต้นจากการ

                       ค้นหานิยาม ความหมายของสันติสุข ในแต่ละพื้นที่ งานวิจัยนี้ก็เช่นกัน เป็นการค้นหานิยาม
                       ความหมายจากคนในชุมชนหรือคนที่ท างานร่วมกันกับคนในชุมชน ในพื้นที่ทั้งสองแห่งทางภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้

                                  นิยาม ความหมายของชุมชนสันติสุข ผู้วิจัยได้ท าการค้นหาค าตอบจากชุมชน ในกรณี
                       บ้านทับทิมสยาม 07 ต าบลบักดอง มีหลายความหมายประกอบด้วย (1) การอยู่ร่วมกันอย่างมี

                       ความสุข  มีความเข้าใจกัน เอื้ออาทรกัน ช่วยเหลือกัน (2) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การพึ่งตนเองได้
                       น ามาสู่ความรักความสามัคคี (3) การคิดได้ ท าได้ รอได้คือ คิดได้ คิดร่วมกันผ่านการเปิดเวที, ท าได้

                       คือการสร้างอาชีพ สร้างรายได้, การรอโครงการต่าง ๆ ที่เราท าร่วมกัน ความร่วมมือกันของ บวร บ้าน
                       วัด โรงเรียน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การอยู่กันอย่างสันติสุขภายใต้ความแตกต่าง หลากหลาย

                       ทางชาติพันธุ์ นิยามชุมชนสันติสุข บ้านหน้าทับ ต.ท่าศาลา มีหลายความหมายประกอบด้วย (1) มีการ

                       แบ่งปันซึ่งกันและกันได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าเทียมกัน (2) กินอิ่ม มีรายได้พอเพียง พออยู่พอกิน
                       พอเพียง (3) สามัคคี ความหมายคือ ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่แย้ง ไม่ชิงหากิน รัก สามัคคีกันในหมู่บ้าน (4)

                       มีส่วนร่วม ต้องช่วยกัน คือต้องมีส่วนร่วม ปรึกษาหารือกันว่าจะพัฒนากันไปอย่างไร

                                  การได้นิยามชุมชนสันติสุข ของแต่ละพื้นที่ ท าควบคู่ไปกับการท าเส้นเวลาในชุมชน เป็น
                       การวิเคราะห์ความขัดแย้งด้วยเครื่องมือเส้นเวลาในการท าความเข้าใจชุมชนในเบื้องต้น การวิเคราะห์

                       ความขัดแย้งมีการศึกษาอย่างแพร่หลายในตะวันตก ก่อนที่จะด าเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หากมี
                       การวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบจะท าให้การไกล่เกลี่ยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                       กล่าวคือ ได้ท าการวิเคราะห์ในภาพรวม และบริบทที่เกี่ยวข้อง และการเตรียมตัวที่ดีจะท าให้การแก้ไข
                       ปัญหาลุล่วง การวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ UN และ OSCE ใช้เป็น

                       ส่วนหนึ่งของการเตือนภัยล่วงหน้าของความขัดแย้ง (Early Warning System and Response,

                       EWRS) เป็นการเตือนภัยล่วงหน้าว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรง (Violent Conflict) หรือไม่
                                  เครื่องมือเส้นเวลาที่ผู้วิจัยได้ใช้  เนื่องจากผู้วิจัยไม่เน้นเริ่มต้นด้วยการถามค าถาม ถึงค า

                       ว่าความขัดแย้ง แม้นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ ส าคัญที่จะอยู่กับความขัดแย้งอย่างไรมากกว่า

                       แต่คนจ านวนไม่น้อยไม่ชอบค านี้ จากเครื่องมือเส้นเวลา ได้ให้ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้มองเหตุการณ์
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163