Page 162 - 22665_Fulltext
P. 162
145
4) ความขัดแย้งสิ่งแวดล้อมและเตาเผาถ่าน ในอดีตมีเรื่องเรื่องกลิ่นเรื่องท ากรง
นก ขี้ฝุ่น เสียง แต่ปัญหาคลี่คลายไปแล้ว ความขัดแย้งเรื่องเตาเผาถ่าน ปัญหาเกิดจากเรื่องอื่นด้วย จึง
ต้องท าความเข้าใจให้ดีว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องใดกันแน่ ต้องประชาคมและใช้หลักฐานทาง
วิทยาศาสตร์มาช่วยพิสูจน์ และต้องรู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร
5) การจัดการความขัดแย้งจากการสร้างโรงพยาบาล การสร้างโรงพยาบาลศูนย์
การแพทย์มูลค่าสูง ผู้น าชุมชนร่วมพูดคุยกันถึงประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน ต้องเสร็จทันเวลา
และห้ามท าร้ายกันจากเรื่องผลประโยชน์
6) ความขัดแย้งจากการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น
ผู้น าชุมชนจะพิจารณาก่อนว่าควรจะเชิญใครมาร่วมพูดคุย จะให้เด็กมาเจอกันไหม
หรือไม่ควรมาเจอกัน บางกรณีถ้ารุนแรงมากจะเชิญเจ้าหน้าที่ต ารวจและโต๊ะอิหม่ามมาร่วมด้วย
เพื่อให้ช่วยพูดคุยให้ตกลงกัน
ความขัดแย้งที่กล่าวมาในชุมชนท่าศาลา หลายกรณีสามารถจัดการให้ลุล่วงได้ โดยใช้
คนกลาง เช่น ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. ผู้น าจิตวิญญาณ ผู้น ากลุ่มที่ไม่เป็นทางการ และ
คณะกรรมการเช่นคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการมัสยิด ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น ผู้น าจิต
วิญญาณหลักการที่ส าคัญในการแก้ปัญหาที่ผู้น าศาลนาใช้คือ ทุกปัญหาแก้ด้วยความรัก และการใช้
ค าพูดที่ดี ผู้น าท้องถิ่นใช้ ความเป็นกลาง มองว่าทุกฝ่ายเป็นญาติและเพื่อน และมีกติกาในการคุยกัน
เวลาคุยกันแยกคุยทีละฝ่าย
การไกล่เกลี่ยในบริบทของศาสนาอิสลามของท่าศาลา โดยอิหม่ามผู้น าจิตวิญญาณเน้น
ความรัก เน้นจิตใจ และมีการไกล่เกลี่ยแบบชี้น าเพื่อความสงบสุข สอดคล้องกับการไกล่เกลี่ยใน
บริบทของศาสนาอิสลามโดยทั่วไป เน้นที่การเข้าถึงความดีเพื่อตอบสนองต่ออัลลอฮ อัลลอฮฺได้บัญญัติ
การประนีประนอมเพื่อผสานรอยร้าวระหว่างคู่พิพาท และท าให้การพิพาทหมดไป ส่งผลให้จิตใจดีขึ้น
ความอาฆาตหมดไป เกิดความปรองดองกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ ถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่ และความดีที่
สูงส่ง และยังสอดคล้องกับการไกล่เกลี่ยแบบมูชาวาเราะห์ในบริบทของอินโดนีเซีย และมูชาวาเราะห์
ของไทย กระบวนการมูชาวาเราะฮ์ มีการใช้กันในระดับหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการในระดับ
ปัจเจกหรือระดับทั้งชุมชน มูชาวาเราะห์ ไม่ต้องการความเป็นกลาง แต่ใช้บทบาทของเขาในการชี้น า
การหารือกัน บริบทอื่นที่แตกต่างคือความเป็นชุมชนที่มีความผูกพันทางสังคม “Social Tie”
(ความสัมพันธ์แบบแนวนอน) ต่างกับในทางสากลอาจจะไม่มีความผูกพันกันแบบคนในชุมชน ไม่มี
ความสัมพันธ์ต่อกันแบบสังคมดังกล่าวเป็น (ความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง)
การไกล่เกลี่ยโดยผู้น าท้องถิ่น คนกลางมีความเข้าใจในวิถีชีวิตของคนในชุมชน ใช้ความ
เป็นเครือญาติ เข้าใจนิสัยของคนในพื้นที่ นิสัยใจคอ ไม่ใช้อ านาจเหนือกว่าหรือการเบ่ง เข้าใจ
วัฒนธรรมชุมชน ท าให้แก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น บางครั้งต้องประชาคมและใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์