Page 165 - 22665_Fulltext
P. 165
148
เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงาน และยังมีการจัดอบรมด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ประชาชนในหมู่บ้าน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในหัวข้อการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยโดย
คนกลาง จากเครือข่ายของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม (2) มีการท างานร่วมกัน
แบบบูรณาการ มีการท างานร่วมกันหลายฝ่าย ท าแผนพัฒนาต าบลบักดองร่วมกัน และเพื่อสร้าง
ชื่อเสียงให้หมู่บ้าน (3) กิจกรรมประเพณี กลุ่มชาติพันธุ์เขมร เยอ ลาว สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยมี
กิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ าเสมอ ในงานบุญ ประเพณีประจ าปี ที่เป็นประเพณีเหมือนของส่วนกลาง
ส่วนประเพณีที่พิเศษ เช่น การเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษของเขมรพิธีแซนโฎนตา ก็มีการสนับสนุน และ
ร่วมกิจกรรมกันได้เป็นอย่างดี (4) การรวมกลุ่มท าเครื่องจักสานหวาย การปลูกทุเรียนภูเขาไฟ สร้าง
ชื่อเสียงให้กับชุมชนและรายได้เข้าสู่กลุ่ม
ชุมชนท่าศาลา มีกลไกในการป้องกันความขัดแย้ง (1) การแต่งงานน าไปสู่การท า
กิจกรรมร่วมกัน และเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกันระหว่างมุสลิมกับชาวพุทธ (2) การสร้างเรื่องเล่าของวัด
ท าให้เกิดการพัฒนา มีคนมาที่วัดมากขึ้น เกิดการท่องเที่ยวและมากราบไหว้พระ ท าให้ไม่กลายเป็นวัด
ร้างท าให้วัดเจริญมากขึ้น (3) วิถีวัฒนธรรม คนบ้านหน้าทับ มีความเท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน ไม่ควร
มาแสดงความเหนือกว่า เป็นความเท่าเทียมกันที่ท าให้เกิดความเสมอภาคและไม่เกิดการเอาเปรียบกัน
ได้ (4) การรวม กลุ่มบ้านแหลมโฮมสเตย์แก้ปัญหาปากท้อง โดยดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวอย่าง
ยั่งยืน เข้ามาร่วมพัฒนาปลูกต้นไม้ชายเลน ท าให้คนในชุมชนรู้สึกหวงแหนทรัพยากร และยังมีการ
สนับสนุนจากบริษัท เอกชน ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมา สามารถหาสัตว์น้ าทะเลเป็นอาชีพได้อย่าง
ต่อเนื่อง และกลุ่มมีการบริหารงบประมาณอย่างโปร่งใส เกิดรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน
5.4 ข้อเสนอแนะ
5.4.1 ข้อเสนอแนะต่อบริบททั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อ
พิพาทในชุมชน
1) ส่งเสริม ผลักดันแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นทุนในการจัดการความขัดแย้ง
ชุมชนที่มีความเป็นญาติ ความเป็นศาสนา ความเชื่อ วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมคล้ายๆกัน เช่น ที่ท่าศาลา
ควรส่งเสริมกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการรักษาระบบวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการความ
ขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมประเพณี ศาสนา การศึกษา วรรณกรรม ในส่วนของบักดองที่มีความ
หลากหลายทางชาติพันธุ์ก็เช่นกัน สามารถส่งเสริมผลักดันแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นทุนในการ
จัดการความขัดแย้ง โดยให้ความส าคัญกับกิจกรรมของแต่ละชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งงาน
กิจกรรมประเพณี ศาสนา การศึกษา วรรณกรรม
2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มและการสร้างงาน รวมถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จาก
การที่ทุกหมู่บ้านในต าบลบักดองมีกลุ่มอาชีพ มีทั้งของกินและของใช้ และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด