Page 164 - 22665_Fulltext
P. 164

147







                       หากคู่กรณีมีความขัดสนเรื่องรายได้ และเชื่อมโยงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับการมีส่วนร่วมผ่านกรณี
                       การใช้ทรัพยากรป่าชุมชนด้วยการประชาคม  ในส่วนของชุมชนท่าศาลา มีการประชาคมในเรื่อง

                       ส าคัญ เช่น การขอสัมปทานจับสัตว์น้ าทางทะเล เมื่อได้ข้อสรุป มีข้อตกลงแล้ว จะมีการปฏิบัติตามนั้น
                       โดยเน้นการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน ไม่ให้คนนอกเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรทางทะเล ส่วนการติดตาม

                       ผลสามารถท าได้หลายช่องทางทั้งในการประชุมทางไลน์ของกลุ่มผู้น า การประชุมอย่างสม่ าเสมอที่
                       บ้านผู้น าท้องถิ่น และการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน

                                  ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางของทั้ง 2 พื้นที่สามารถแบ่งได้เป็นสามขั้นตอน (1)

                       ก่อนการไกล่เกลี่ย (2) การด าเนินการไกล่เกลี่ย และ (3) การติดตามผลภายหลังการไกล่เกลี่ย แต่ไม่ได้
                       วิเคราะห์ความขัดแย้งแบบตะวันตก เช่น ไม่ได้ วิเคราะห์จุดยืน จุดสนใจ แต่เป็นบริบทของตนเอง เช่น

                       การหาสาเหตุของความขัดแย้ง และคนที่จะท าให้เรื่องจบลงได้ ในชุมชนบักดอง ก่อนการไกล่เกลี่ย

                       ผู้น าจะพิจารณาว่าจะด าเนินการอย่างไร จะมีการเปิดศาลไกล่เกลี่ยในหมู่บ้านในรูปแบบของ
                       คณะกรรมการหรือไม่ หากเป็นรูปแบบคณะกรรมการ จะมีการด าเนินการไกล่เกลี่ยที่ทาการ

                       ผู้ใหญ่บ้าน หากตกลงกันได้มีการให้ขอโทษ เยียวยาจิตใจ รวมถึงอาจมีเรื่องการจ่ายเงินเยียวยาด้วย
                       และมีการติดตามผล หากเป็นเรื่องครอบครัวทะเลาะกันอันมาจากความยากจน ผู้น าจะเข้าไปส่งเสริม

                       หาอาชีพให้ท า เช่นเดียวกันกับ ทางท่าศาลาว่าจะเชิญใครมาเป็นคนกลาง พิจารณาจากความรุนแรง
                       ของปัญหา และเมื่อตกลงกันได้จะมีการติดตามผลว่าท าตามข้อตกลงหรือไม่ อย่างไร

                                  ปัจจัยที่น าไปสู่ความส าเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง กล่าวในภาพรวมทั้งสองพื้นที่

                       ประกอบด้วย (1) คนกลางที่ได้รับการยอมรับไม่ว่าจะเป็นผู้น าที่เป็นทางการและผู้น าที่ไม่เป็นทางการ
                       อาจเป็นการไกล่เกลี่ยในรูปคณะกรรมการหรือบุคคลแล้วแต่กรณี (2) คู่กรณี ยินยอมผ่อนปรนให้แก่

                       กัน คนที่มาไกล่เกลี่ยมีอ านาจตัดสินใจ ยินยอมท าตามข้อตกลง (3) ความสัมพันธ์และความไว้วางใจ

                       ต่อคนกลางและต่อคู่กรณี (4) บริบทสภาพแวดล้อมจากความเป็นคนในชุมชนเดียวกัน มีวัฒนธรรม
                       ร่วมกัน การเข้าใจวัฒนธรรมของชุมชน (5) ทรัพยากรที่เพียงพอในการจัดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และ

                       การติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง  ส าหรับ อุปสรรคของการไกล่เกลี่ยหรือปัจจัยที่อาจท าให้การไกล่
                       เกลี่ยไม่ประสบความส าเร็จกล่าวในภาพรวมทั้งสองพื้นที่ มีหลายประการ เช่นไม่สามารถแสวงหาจุด

                       ร่วมของคู่กรณีจึงด าเนินคดีต่อไป  มีคนที่ไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการ เหมือนถูกกีดกันออกไป คู่เจรจา
                       ต้องการมุ่งเอาชนะกัน การไม่ปฏิบัติตามค าสอนของศาสนาหรือห่างไกลศีลธรรม เช่น เสพสุราแล้วทุบ

                       ตีภรรยา

                                  การป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวเป็นความรุนแรงเป็นสิ่งพึงประสงค์ กลไกป้องกัน
                       ความขัดแย้งในพื้นที่ ในชุมชนบักดอง (1) มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในอบต.บักดอง

                       โดย หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา (Peace Corps) ได้จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์และพัฒนาทักษะ

                       บุคลากรขึ้น ภายใต้จุดประสงค์หลักคือ เพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการท างาน สร้างความสามัคคี
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169