Page 159 - 22665_Fulltext
P. 159
142
ส าคัญในชุมชนของตนเองร่วมกัน ย้อนหลังไปจากปัจจุบัน เช่น ย้อนหลังไปสิบปีจากปัจจุบัน หรือห้วง
เวลาที่ผู้เข้าร่วมเห็นว่าเหมาะสม ท าให้ผู้วิจัยค้นพบว่า บ้านทับทิมสยาม 07 ต าบลบักดอง มีการตั้ง
หมู่บ้านมานานมากกว่าสามสิบปี โดยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วยการ
ปลูกพื้นเศรษฐกิจ มีการเกิดกลุ่ม OTOP ด้านเครื่องจักสานจากหวาย มีการหาทรัพยากรจากป่า และ
ได้ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนเพื่อใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชนร่วมกัน ในด้านการเมืองการปกครอง มี
การเลือกตั้งผู้น าท้องถิ่นและท้องที่ มีปัญหาความขัดแย้งกันในอดีตแต่ปัจจุบันสามารถจัดการปัญหา
ดังกล่าวได้อย่างลุล่วง ในด้านกลไกการจัดการความขัดแย้ง มีการตั้งศาลไกล่เกลี่ยหมู่บ้าน ไกล่เกลี่ย
และตัดสินปัญหาของหมู่บ้านในหลายกรณี บ้านหน้าทับ ต.ท่าศาลา ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ในด้าน
บวก เกิดการพัฒนามากขึ้นในด้านวัตถุ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมอาชีพประมงดั้งเดิม
ส่งเสริมการท่องเที่ยว มีการสนับสนุนจากเครือข่ายเอกชน สถาบันการศึกษา ภาครัฐในด้านความรู้
ทรัพยากร มีบุคคลส าคัญเข้ามาศึกษา เยี่ยมชมชุมชน เป็นที่รู้จักจากการรวมกลุ่ม การพัฒนาการ
ท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเน้นท่องเที่ยวอนุรักษ์ ยั่งยืน เหตุการณ์ในด้านลบก็มี เช่น ขยะ
จากชุมชน พายุ สถานการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างมาก
ความขัดแย้งในชุมชนทั้งสองแห่งมีความรุนแรงเกิดขึ้นในอดีต จากปัจจัยที่แตกต่างกัน
กล่าวคือ ชุมชนบักดอง ได้รับผลกระทบจากการสู้รบกันระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา ในเรื่องความ
มั่นคง เป็นปัจจัยภายนอกที่ชุมชนไม่สามารถควบคุมได้ เป็นการปกป้องอธิปไตยของทั้งสองประเทศ
แต่ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนต้องอพยพชั่วคราวจากเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ในขณะ
ที่ชุมชนท่าศาลา ในอดีต การเมืองท้องถิ่นในต าบลท่าศาลาแรงมากเป็นความขัดแย้งที่ถึงตาย โดยผู้น า
ชุมชนจะถูกท าร้ายถึงชีวิตหลายคน จากหลายเหตุการณ์ แต่ความรุนแรงทั้งสองชุมชนในปัจจุบัน
คลี่คลายลงไป ไม่มีความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ความขัดแย้งในชุมชนทั้งสองแห่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งยืดเยื้อด้านชาติพันธุ์ที่จะมีโอกาส
ลุกลามขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงได้มากขึ้น แต่เป็นความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เรื่องของ
อารมณ์ความรู้สึก การวิเคราะห์ความขัดแย้งทั้งสองกรณีนั้น ผู้น าชุมชนจะมีการวิเคราะห์ก่อนเข้าไป
จัดการกับปัญหา จะพิจารณาดูก่อนว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องใด แบบใด สาเหตุเกิดจากอะไร
แม้กระทั่งลงไปศึกษาอย่างจริงจังในทะเล ในป่า ยังมีการวิเคราะห์ว่าจ าเป็นต้องใช้คนกลางท่านอื่น
มาร่วมด้วยไหม เช่น ผู้น าจิตวิญญาณ แต่ไม่ได้วิเคราะห์ตามแบบของตะวันตก เช่น การพิจารณา
ประวัติศาสตร์ ประเมินทางเลือก จุดยืน จุดสนใจ หรือใช้เครื่องมือที่หลากหลายมากกว่าสิบเครื่องมือ
ในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ซึ่งผู้วิจัยก็เห็นว่าไม่จ าเป็นต้องท าตามกรอบของตะวันตก อาจใช้เป็น
แนวทางได้บ้าง การวิเคราะห์ความขัดแย้งจึงเป็นการจัดการในบริบทท้องถิ่น