Page 81 - 22353_Fulltext
P. 81

สรุปแนวทางการนำหลักประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออกไปประยุกต์ใช้


                       จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่ากระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative

               democracy) และกระบวนการประชาเสวนา (citizen dialogue) นั้นสามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหา
               และส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตยได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในที่นี้เป็นการนำเอาหลักการดังกล่าวมาประยุกต็ใช้

               เพื่อแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงและสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน ซึ่งจากการนำเอากระบวนการ

               ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้พบว่ามีข้อสรุปและข้อพึงสังเกตหลายประการในการประยุกต์ใช้แนวทางประชาธิปไตย

               แบบปรึกษาหารือและการประชาเสวนาให้มีประสิทธิภาพประสบความสำเร็จ โดยในที่นี้ผู้วิจัยได้จัดกลุ่มผล

               การศึกษาที่ได้ขึ้นเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้หลักประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการประชาเสวนา

               จำนวน 5 ข้อ ดังนี้

                       ประการที่หนึ่ง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ คือจุดเริ่มต้นสำคัญ


                       จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าความสนใจเข้าร่วมโครงการนั้นความรู้ความเข้าใจความสำคัญของ

               โครงการมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย

               แบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออกสามารถกระทำได้ทั้งในระยะที่ 1 ในการเข้าพบเป็นการ

               ส่วนตัวเพื่อทำความเข้าใจโครงการกับผู้สมัคร และในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงของการจัดเวทีสานเสวนา ซึ่งจะมี

               วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างความสมานฉันท์และการเลือกตั้งมาให้ความรู้เล่า
               ประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งผลจากการทำแบบทดสอบเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนและภายหลัง

               การรับฟังจะเห็นได้ว่าการจัดเวทีสานเสวนาเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจได้ ดังจะเห็น

               ได้ว่าการจัดเวทีเสวนาทั้งสองนั้นโดยเฉลี่ยแล้วมีผู้ที่ได้รับคะแนนเพิ่มมากขึ้นสูงกว่าร้อยละ 50 จึงกล่าวได้ว่า

               การดำเนินโครงการหนึ่งๆให้ประสบความสำเร็จการตั้งต้นจากการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจยังเป็นสิ่งสำคัญ

               โดยความรู้ในที่นี้จะประกอบกันทั้งความรู้เชิงทฤษฎีและความรู้ในทางปฏิบัติตามแนวคิด civic education
               โดย 1) ความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ความสำคัญของพลเมืองในการมีส่วนร่วม

               และสร้างสรรค์บ้านเมืองที่ดี ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้งกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 2) ความรู้ในทาง

               ปฏิบัติ ซึ่งในที่นี้ครอบคลุมความรู้เรื่องกระบวนการประชาเสวนา การมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฤดูกาล

               เลือกตั้งที่มากไปกว่าการรับฟังการหาเสียงจากผู้สมัคร ประสบการณ์ประยุกต์ใช้กระบวนการประชาเสวนากับ

               การจัดการปัญหาประเด็นอื่นๆ แนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการประชาเสวนาและประสบการณ์อื่นๆกับ

               การส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในพื้นที่ องค์ความรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนสปอตไลท์

               ที่ส่องให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เล็งเห็นความสำคัญและความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งต่างๆรวมไปถึงบทบาทบาง
               ประการของพวกเขาซึ่งอาจถูกมองข้ามไปได้ชัดเจนมากขึ้น







                                                                                                       80
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86