Page 83 - 22353_Fulltext
P. 83

โดยเทคนิคหนึ่งที่ผู้วิจัยได้จากการศึกษาคือการใช้หลักปรึกษาหารือแบบที่เป็นทางการและไม่เป็น

               ทางการประกอบกัน กล่าวคือในบางครั้งหากมีกรณีที่อ่อนไหวไม่สามารถหารือกันอย่างเป็นทางการในคนหมู่

               มากได้ การเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือแบบเป็นการเฉพาะอาจจะเป็นการดีกว่า แต่หากสามารถปรึกษาหารือ

               แบบเป็นทางการเป็นที่รับรู้ของสาธารณะชนได้จะเป็นการดีกว่า โดยผู้วิจัยได้จำแนกวิธีการเข้าถึงแบบเฉพาะ
               และแบบสาธารณะไว้ดังนี้


                       1.1 การปรึกษาหารือแบบเฉพาะ


                       ในที่นี้หมายถึงการที่คนกลาง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิจัย หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าพบเพื่อ

               หารือกับผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะมีการเสวนาปรึกษาหารือกันอย่างไม่เป็นทางการก่อน เพื่อทำความเข้าใจ

               ความสำคัญของการปรึกษาหารือในประเด็นนั้น ตลอดจนชี้แจงเป้าหมายหลักของการจัดเวทีเสวนาเพื่อให้ทุก
               ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มาหารือกันว่าไม่ได้เป็นไปเพื่อเอาแพ้ชนะ หรือทำให้ผลประโยชน์ของใครเสียไป หรือทำให้

               ใครเสียหน้า ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่อาจกล่าวได้ในเวทีสาธารณะ นอกจากนั้น ยังเป็นโอกาสให้ผู้ที่

               เกี่ยวข้องได้ซักถามสิ่งที่ข้องใจได้โดยตรงซึ่งบางครั้งสิ่งที่จะซักถามอาจมีการพาดพิงถึงกลุ่มบุคคลอื่นและไม่ควร

               เกิดขึ้นในเวทีเพราะจะทำให้บรรยากาศในการเสวนาปรึกษาหารือกันเสียลง ด้วยเหตุนี้ การเสวนาแบบเฉพาะ

               กลุ่มจึงเป็นกระบวนการสำคัญ และควรเป็นจุดตั้งต้นในการนำไปสู่การจัดเวทีสาธารณะ ซึ่งไม่อาจละเลยได้

               ไม่เช่นนั้นในการจัดเวทีสาธารณะอาจมีข้อจำกัดในการ “เปิดใจ” ของผู้ที่เข้าร่วมได้ เนื่องจากบางประเด็นที่
               ข้องใจยังไม่ได้รับคำตอบ ขณะที่บางประเด็นที่ข้องใจก็อาจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนซึ่งไม่สามารถพูดได้ในเวที

               สาธารณะเนื่องจากอาจกระทบต่อภาพลักษณ์ได้ ดังนั้น แม้ในทางทฤษฎีแล้วจะเสนอว่าประชาธิปไตยแบบ

               ปรึกษาหารือจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการจัดเวทีสาธารณะที่มีความเปิดเผยและมีส่วนร่วมโดยสาธารณชน ทว่า

               ในทางปฏิบัติก่อนจะเกิดเวทีสาธารณะเช่นนั้นได้ประเด็นที่คับข้องใจหลายอย่างจำเป็นต้องได้รับคำตอบก่อนใน

               ระดับหนึ่งเพื่อสร้าง “ความไว้วางใจ” (trust) ให้เกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นเวทีสาธารณะที่ทุกฝ่ายเข้าร่วมเสวนาอย่าง

               เปิดใจก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น แม้การเสวนาแบบเฉพาะนี้อาจไม่ได้การกระทำแบบสาธารณะตามทฤษฎี ทว่า
               ก็ไม่ได้เป็นไปในทางลับ เพราะโดยหลักจะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องที่มีความเป็นกลางและมีบทบาทหน้าที่ที่

               เกี่ยวข้องเข้าหารือโดยมีบุคคลอื่นเข้าร่วมรับฟังด้วย การเสวนาเช่นนี้มีลักษณะเปิดเผยทว่าไม่ได้มีความเป็น

               สาธารณะเท่านั้น


                       1.2 การปรึกษาหารือแบบสาธารณะ


                       ในที่นี้หมายถึงการจัดเวทีเสวนาแบบสาธารณะ เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณะชนที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วม
               แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม แม้โดยทฤษฎีแล้วจะมองว่าเป็นการดีที่จะเชิญทุกฝ่าย

               ที่เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจร่วมกันในเวที อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินั้นการส่งเสริมให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสได้

               เข้าร่วมปรึกษาหารือในเวทีสานเสวนา โดยที่ผู้นั้นต้องมีความพร้อมเรื่องข้อมูลในประเด็นที่จะเสวนา มีความ




                                                                                                       82
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88