Page 85 - 22353_Fulltext
P. 85
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้การสร้างความเป็นกลางจะเป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ในทางปฏิบัติกลับมี
รายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้การปรึกษาหารือเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง จากการศึกษา
ชี้ให้เห็นว่า “การจัดเวทีสาธารณะ” ในทางปฏิบัติ มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน ด้วยเงื่อนไขหลายประการ
คือเรื่องของความสนใจ เงื่อนไขด้านเวลาไม่เหมาะสม เงื่อนไขเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ตรงกัน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเงื่อนไขด้านผลประโยชน์ที่เกี่ยวพันกับศักดิ์ศรีอย่างเช่นชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นต้น
ดังนั้น สิ่งที่สำคัญของเวทีปรึกษาหารือแบบสาธารณะ จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมอย่าง
เหมาะสม ในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยได้รับ “การตอบสนอง” อย่างเหมาะสมแก่ช่วงเวลา สิ่งเหล่านี้จะช่วย
เสริมสร้างความรู้สึกแห่งการเป็นเจ้าของประเด็น ความรู้สึกถึงพลังและศักยภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ในการร่วมคิดร่วมปฏิบัติร่วมรับผลและร่วมสร้างการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้ว
เป้าหมายในการสร้างผลผูกพันในทางปฏิบัติ อาจมีความสำคัญไม่เท่ากับการสร้างให้ “การปรึกษาหารือ
สาธารณะ” กลายเป็นวิถีปฏิบัติของชุมชน เพราะสิ่งนี้จะกลายเป็นพลังอย่างแท้จริงที่จะโอบล้อมให้ฝ่ายต่างๆ
ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสุดความสามารถ โปร่งใส เป็นธรรมและเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ดังนั้น ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในทางปฏิบัติ การพูดคุยระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะมีความ
ราบรื่นและสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ด้วยฉันทามติได้ จึงจำเป็นต้องมีหลักการอื่นๆเข้ามาเสริม ซึ่ง
ประกอบด้วย
1. หลักการประนีประนอม (compromising) หลักการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อช่วยให้
กระบวนการปรึกษาหารือนั้นพร้อมที่จะรับฟังและมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าเป็นการจัดขึ้นเพื่อหารือ
กันอย่างแท้จริง โดยไม่มีเป้าหมายใดๆแอบแฟง ไม่ได้มุ่งหาคนชนะหรือทำให้ฝ่ายใดผ่ายแพ้ แต่
เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาจัดสรรค์ผลประโยชน์ร่วมกันใหม่เพื่อขจัดความขัดแย้ง
2. หลักประโยชน์ร่วมและหลักประโยชน์ยั่งยืน (sharing long term benefit) ในที่นี้เป็นไปเพื่อ
ขยายความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตัว (self interest) ให้กว้างออกไปสู่ผลประโยชน์ของหมู่
คณะ ทั้งในส่วนของชุมชน สังคม ประเทศชาติ โดยการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ผลประโยชน์ระดับต่างๆ ส่งผลให้ไม่อาจละทิ้งประโยชน์ของใครไว้เบื้องหลังได้ นอกจากนั้น การ
ตัดสินใจปฏิบัติการในเรื่องใดยังจำเป็นต้องพิจารณาให้เห็นถึงผลประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งเรื่องนี้มี
ความสำคัญเพราะสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ในระยะยาวในอนาคตอาจจำเป็นต้องแลกมากับการ
เสียสละผลประโยชน์ในระยะสั้นผลประโยชน์เฉพาะตัวบางประการลงไปก็ได้ การนำหลักการนี้มา
เสริมในเวทีสานเสวนาอาจเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เวทีปรึกษาหารือแบบสาธารณะมีแนวโน้มที่จะ
ได้ข้อสรุปบางประการที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น
3. หลักความเป็นกลาง โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Neutrality & transparency) ดังที่ได้ชี้ให้เห็นไปใน
ส่วนของการเสวนาแบบเฉพาะแล้วว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นก่อนการจัดเวทีเสวนาแบบ
84