Page 88 - 22353_Fulltext
P. 88
เพราะเมื่อการกระทำในเรื่องที่มีความเป็นไปได้มากกว่าประสบความสำเร็จได้จริง สุดท้ายจะกลายเป็นแรง
บันดาลใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเกิดกำลังใจผลักดันประเด็นที่ยากกว่าต่อไป ซึ่งในกรณีของการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้นผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้อยละ 97 มองว่าโครงการนี้
ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมความสมานฉันท์ ส่วนความสำเร็จในการลดการซื้อเสียงนั้นยังคงอยู่ในระดับ
ปานกลาง ด้วยเหตุนี้ การส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอาจจะต้องหันมาชูธงเรื่องการ
สร้างความสมานฉันท์ให้แก่ชุมชนและไม่แตกแยกอันเนื่องมาจากการเลือกตั้งผ่านการรณรงค์ให้ผู้สมัครและ
ผู้สนับสนุนมีการหาเสียงด้วยรูปแบบสร้างสรรค์ต่างๆ โดยหวังว่าความเปลี่ยนแปลงในเชิงสมานฉันท์ที่เกิดขึ้น
จะช่วยลดการซื้อเสียงลงได้ เพราะเมื่อเกิดความสมานฉันท์ระหว่างผู้สมัครแล้ว ก็มีแนวโน้มที่การแข่งขันกัน
อย่างรุนแรงโดยใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะไม่เว้นแม้แต่การใช้เงินเพื่อซื้อเสียงก็อาจจะลดลงตามไป
ด้วย
ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงผ่านการจัด
เวทีสานเสวนาหาทางออกสามารถเพิ่มความตระหนักรู้และกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้ แม้ว่า
สุดท้ายแล้วเป้าหมายระดับโครงการในการลดการซื้อเสียงและสร้างความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง
อาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน และที่สำคัญเป้าหมายระดับโครงการจะต้องประกอบไปด้วยการบรรลุ
ความสำเร็จของเป้าหมายตามกระบวนการในแต่ละขั้นตอนด้วย ดังนั้น การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจึงจำเป็นต้องพิจารณาแนวทางการพัฒนาทั้งกระบวนการ โดยในที่นี้
ผู้วิจัยมีข้อสังเกตุและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาโครงการดังต่อไปนี้
1. ควรมีการจัดเวทีสานเสวนาอย่างต่อเนื่อง: จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการจัดเวทีสานเสวนา
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับค่านิยม
ประชาธิปไตยในเรื่องต่างๆ แม้เพียงครั้งสองครั้งก็สามารถเพิ่มระดับความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์
และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่มากกว่าการเลือกตั้งให้แก่ผู้เข้าร่วมเวทีได้
มากกว่าร้อยละ 50 แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจ ที่ยังได้คะแนนเท่าเดิมหรือบางรายอาจเกิดความ
สับสนในคำตอบทำให้กลับได้คะแนนน้อยลง ทว่าจำนวนของผู้ที่ได้คะแนนจากแบบทดสอบที่เพิ่มมากขึ้นและ
ความกระตือรือร้นของผู้คนในการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันในเวที ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจัดเวที
สานเสวนาเพื่อให้ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พบปะแลกเปลี่ยนกันเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเสริมสร้างการ
เรียนรู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพได้
ดังนั้น การจัดให้มีเวทีสานเสวนาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเพาะต้องเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลเลือกตั้งเท่านั้นอาจ
เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมเติมความเข้าใจให้แก่ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตระหนักถึงความสำคัญ
87