Page 92 - 22353_Fulltext
P. 92

ของการเลือกตั้งกับการมีคุณภาพชีวิตทีดีและการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆเพื่อส่งเสริมให้

               การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมลงไปในหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจึงอาจ

               มีส่วนช่วยสร้างและขยายผลการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               ไปสู่กลุ่มเป้าหมายทุกวัยในทุกพื้นที่ที่มีสิทธิในการเลือกตั้งได้มากยิ่งขึ้น

                       นอกจากนั้น การพัฒนาคู่มือเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเพื่อเป็นคู่มือให้แก่ทั้ง

               ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งนับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้การศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการเลือกตั้ง

               บทบาทของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งที่มีคุณภาพมีการขยายตัวออกไปสู่

               การศึกษาทุกระดับทั้งในและนอกระบบการศึกษา


                       นโยบายด้านการประชาเสวนา ผลการศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการลงมือปฏิบัตินั้นจะส่งเสริมต่อ
               การเรียนรู้และสร้างความเข้าใจได้ดีที่สุด ผลการศึกษาการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงก็เช่นเดียวกันชี้ให้เห็นแล้วว่าการเปิดพื้นที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมี

               ส่วนร่วมรณรงค์การเลือกตั้งที่ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นมีส่วนต่อการสร้างความเข้าใจความสำคัญของการ

               เลือกตั้งที่ดีกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในช่วงฤดูกาลเลือกตั้งได้มากขึ้น

               ทั้งยังกระตุ้นให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตระหนักว่าตนเป็นผู้มีศักยภาพในการร่วมกันสร้างบ้านเมืองที่ดีมีคุณภาพผ่าน

               การเลือกตั้งที่มีคุณภาพได้หลายรูปแบบ ด้านผู้สมัครภายหลังเข้าร่วมเวทีเสวนาได้มีการแสดงออกที่สะท้อนให้
               เห็นถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกันกับคู่แข่ง มีการแข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ไม่โจมตี ซึ่งสามารถลดความรุนแรง

               ในการแข่งขันลงได้และเพิ่มโอกาสของความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง อีกทั้งผู้สมัครก็มีความ

               ระมัดระวังตัวมากขึ้นเพื่อให้การหาเสียงเป็นไปตามกรอบกฎหมาย


                       ในแง่นี้การผลักดันให้การประชาเสวนาร่วมกันระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นนโยบาย

               สาธารณะที่มีหน่วยงานรับผิดชอบจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ จึงอาจมีส่วนช่วยเสริมความรู้สร้างความเข้าใจ
               และกระตุ้นความตระหนักในศักยภาพของตนเองให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการ

               การเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดูแลในการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายเลือกตั้งให้แก่ประชาชนและผู้สมัครอยู่

               แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการเลือกตั้ง ซึ่งหาก กกต. กำหนดให้การจัดเวทีประชาเสวนาเป็นส่วนหนึ่ง

               ในการจัดอบรมดังกล่าว และจัดเวทีประชาเสวนาเพื่อระดมและรับฟังความต้องการเชิงนโยบาย เปิดโอกาสให้

               ผู้นำปัจจุบันได้นำเสนอผลการดำเนินงานและให้ผู้ที่สนใจสมัครรับเลือกตั้งได้ร่วมรับฟังปัญหาและความ

               ต้องการจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมไปถึงร่วมกันกำหนดนโยบายของชุมชนร่วมกัน ก่อนที่จะมีการประกาศวัน

               เลือกตั้ง อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครไม่ต้องเร่งรัดแข่งขันกันภายในระยะเวลา 1-2
               เดือนเพื่อชิงคะแนนนิยมกัน เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชุมชนได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและพัฒนาชุมชน

               ร่วมกันเป็นระยะมาแล้วผ่านการจัดเวทีประชาเสวนา เพื่อทำความเข้าใจเรียนรู้ผลการดำเนินงานซึ่งกันและกัน





                                                                                                       91
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97