Page 94 - 22353_Fulltext
P. 94

จัดทำเป็นคู่มือเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงผ่านการจัดเวทีเสวนาหาทาง

               ออกภายใต้หลักคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ เพื่อเป็นเครื่องมือที่หน่วยงานต่างๆจะสามารถนำไป

               ปรับใช้เพื่อขยายผลแนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และส่งเสริมให้เรื่องดังกล่าวเป็นวิถีวัฒนธรรมไป

               พร้อมๆกับส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างเป็นรูปธรรม

                      ในส่วนของการสงเสริมการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และ

               ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้น อาจเริ่มต้นกระทำได้โดยกระทรวงศึกษาธิการอาจปรับเพิ่มวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

               และเนื้อหาให้ครอบคลุมประชาธิปไตยหลายรูปแบบ โดยเน้นไปที่ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และการ

               สานเสวนาหาทางออก ที่จะส่งเสริมอำนาจให้แก่ประชาชนผ่านการมีส่วนร่วมที่มากไปกว่าการเลือกตั้ง ให้

               สอดแทรกอยู่ในหลักสูตรสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

               ที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตั้งแต่ช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งไม่เฉพาะวัน
               เลือกตั้งเท่านั้นให้แก่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นต้นมา นอกจากนั้น อีกส่วนหนึ่งอาจส่งต่อ

               เนื้อหาให้แก่ กศน. เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เข้าใจง่าย เพื่อเผยแพร่ต่อแก่นักศึกษา กศน. รวมไปถึงให้ความรู้

               แก่คนในชุมชนหมู่บ้านไปพร้อมกัน


                      ด้านการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในทางปฏิบัตินั้น สำนักงาน

               คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นับเป็นหน่วยงานสำคัญที่อาจจะต้องพิจารณาถึงบทบาทนี้ในการผลักดันให้
               กิจกรรมสานเสวนาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายเลือกตั้งที่ กกต.จะต้อง

               ดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้ว โดยใช้โอกาสนี้จัดเวทีสานเสวนาขึ้น โดยอาจขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เป็น

               กลางทางวิชาการเช่น สถาบันพระปกเกล้า หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเป็นหน่วยงานร่วมจัดทำหน้าที่เป็น

               ผู้อำนวยการเสวนา (facilitator) เพื่อให้เวทีสานเสวนาได้รับความไว้วางใจและมีลักษณะของความเป็นวิชาการ

               มากกว่าการหาเสียงแต่เน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามแนวทางประชาธิปไตยแบบ

               ปรึกษาหารือมากกว่า ซึ่งในกระบวนการนั้นอาจนำไปสู่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างผู้สมัครและผี้สิทธิเลือกตั้งใน
               เรื่องต่างๆ อาทิ คุณสมบัติของผู้สมัคร และนโยบาย ที่อาจกลายเป็นกรอบจริยธรรมในการปฏิบัติของผู้สมัคร

               ในการหาเสียงเลือกตั้งต่อไปได้


                      อนึ่ง ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ หรือประชาธิปไตยแบบสานเสวนานั้นยัง

               สามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปต่อยอดได้ โดยอาจพิจารณาจัดทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการ

               เลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ควบคู่กันไปกับการจัดเวทีสานเสวนาหาทางออก เนื่องจากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการ

               ส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์ในการเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการส่งเสริมให้การซื้อเสียงลดลงหรือหมด
               ไป ซึ่งการส่งเสริมความสมานฉันท์นั้นมีความสัมพันธ์กับการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์ไม่โจมตีผู้สมัครคนอื่น

               ดั้งนั้น หากผู้จัดสามารถมีฉากทัศน์เกี่ยวกับการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์มานำเสนอแก่ผู้สมัครในเวทีเสวนาได้





                                                                                                       93
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99